บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป ระหว่างก่อนและหลังการ
จัดประสบการณ์ 2) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยชั้น
อนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป ระหว่างก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์และ4) เพื่อศึกษาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียน
เทศบาลวัดเหนือ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา
2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เพราะผู้วิจัยเป็น
ครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้มี3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป
จำนวน 20 แผน และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากผลผลิตภาพวาด TCT-DP ของ เจลเลน
และเออร์บัน จำนวน 1 ชุด แบบวัดทักษะของเด็กปฐมวัย จำนวน 30 ข้อ และคู่มือการจัด
ประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป จำนวน 20 กิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่าก่อนเรียน (

= 19.51) ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.48 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยวัยมีค่าเฉลี่ย (

= 25.63) ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.24 แสดงว่า ความคิดสร้างสรรค์หลังจากที่เรียนด้วยการจัด
ประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
2. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป
หลังการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีระดับความคิด
สร้างสรรค์อยู่ในระดับสูง จำนวน 25 คน จากนักเรียนทั้งหมด 30 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33
ข
3. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมจากการประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน
ด้วยการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป โดยรวมทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมหลังทำ
กิจกรรมสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป
ก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของทักษะทางสังคมเท่ากับ 15.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เท่ากับ 2.87 คิดเป็นร้อยละ 52.33 และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของทักษะทางสังคม
เท่ากับ 24.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.97 คิดเป็นร้อยละ 81.44 จะเห็นได้ว่าหลังการจัด
ประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคปเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีคะแนนทักษะทางสังคมสูง
กว่าก่อนจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป