การนิเทศเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียนโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายวิชิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต เป็นการวิจัยเพื่อนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการนิเทศ เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดประสิทธิผล มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ ศึกษาความสามารถของครู และศึกษาความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC (Index of item objective congruence)
ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ
การนิเทศการสอน ความต้องการของครูในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ การพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้
การนิเทศการสอน การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ในการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ ความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน โดยภาพรวม 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้
พัฒนาการจัดการเรียนรู้ (การจัดการเรียนรู้โดยใช้คลิปวีดีทัศน์) พัฒนาเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้
ที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การประเมินผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมด้านทักษะ คุณลักษณะ ความสามารถตามบริบทของโรงเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เมื่อสรุปรายด้าน ได้ดังนี้ด้านการพัฒนาเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ ครูจัดกระบวนการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และครูมีสื่อ นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ครอบคลุมด้านทักษะ คุณลักษณะ ความสามารถตามบริบทของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ ครูผลิตสื่อ นวัตกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียน ครูผลิตสื่อ นวัตกรรมเพื่อใช้ในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ และครูผลิตสื่อ นวัตกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา สาระการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ (การจัดการเรียนรู้โดยใช้คลิปวิดิทัศน์) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม และจริยธรรม ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเขียน ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะด้านเข้าใจความต่างวัฒนธรรม
ต่างกระบวนทัศน์ ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะด้านการคิดคำนวณ ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมีทักษะในการแก้ปัญหา ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะด้าน
การสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่ากันสื่อ และครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะด้านอาชีพ และการเรียนรู้ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ ระดับช่วงชั้น หรือระดับโรงเรียน และครูมีการเผยแพร่ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนอื่นด้านการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ ครูได้รับการนิเทศ ติดตาม เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และครูสรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ การออกแบบการนิเทศ การจัดทำสารสนเทศ การประเมินผล การนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ และการรวบรวมความรู้เมื่อสรุปรายด้านได้ ดังนี้ ด้านการรวบรวมความรู้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ ผู้นิเทศให้ความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน และผู้นิเทศให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ด้านการจัดทำสารสนเทศ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ เอกสาร แนวทางการดำเนินงานมีความถูกต้อง เหมาะสม ในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน เอกสาร แนวทางการดำเนินงานมีความสอดคล้องกับความต้องการของครู และ เอกสาร แนวทางการดำเนินงาน มีขั้นตอนการดำเนินงานที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ด้านการออกแบบการนิเทศ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ ผู้นิเทศมีการทำงานเป็นทีม เพื่อให้คำแนะนำ ช่วยเหลือผู้รับการนิเทศให้สามารถพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ผู้รับการนิเทศมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน การนิเทศเป็นไปตามปฏิทินที่กำหนด เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน รูปแบบหรือกระบวนการนิเทศตรงกับวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน และระยะเวลาการนิเทศมีความเหมาะสมในการส่งเสริมความสามารถของครูเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ด้านการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ ได้รับการนิเทศแบบให้คำแนะนำปรึกษา (Coaching and Mentoring) เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ได้รับการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ได้รับการนิเทศแบบออนไลน์ (Online) เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน และได้รับการนิเทศโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ด้านการประเมินผล โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้ การนิเทศช่วยให้ครูสามารถผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน การนิเทศช่วยให้ครูนำสื่อ หรือนวัตกรรมไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ผู้นิเทศเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน การนิเทศช่วยให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษาแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน การนิเทศช่วยให้ครูมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน และการนิเทศส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน