ชื่อวิจัย การพัฒนารูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ : TS-SAP-CDO Model โรงเรียนอนุบาล
เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อผู้วิจัย นายธวัช สิงห์โต
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
มีวัตถุประสงค์ของผู้วิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ : TS-SAP-CDO Model โรงเรียนอนุบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ : TS-SAP-CDO Model โรงเรียนอนุบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ : TS-SAP-CDO Model โรงเรียนอนุบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน รวมจำนวน 140 คนเครื่องมือที่ใช้ในศึกษาวิจัย มี 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน 2) แบบสอบถามความเป็นไปได้และประโยชน์ 3) แบบสอบถามการพัฒนารูปแบบ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ : TS-SAP-CDO Model สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( x̄ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเมืองทุ่งตำเสา พบว่า ทุกคนมีความคิดเห็นตรงกัน 1) ด้านการบริหารจัดการยึดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์เป็นสำคัญ สอดคล้องกับบริบทสถานที่ศึกษา ยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนเยาวชน และทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านทางคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และพ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียน ได้จัดทำแผนบริหารการศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยจัดโครงสร้างการทำงานเป็น 4 ฝ่าย คือ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความสามารถ ที่จะพัฒนาโรงเรียน และส่งเสริมให้เด็ก ๆ มีความรู้เพื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต 2) การบริหารจัดการการเรียนการสอน การบริหารจัดการเรียนการ มีความสอดคล้องกับหลักสูตรของสถานศึกษา โดยหลักสูตรสถานศึกษา บริบทชุมชน และสังคม เพื่อให้การจัดการเรียนการสอน สอดคล้องกับความต้องการผู้เรียนมากที่สุด การจัดการเรียนการสอน จะคำนึงถึง ศักยภาพของผู้เรียน เป็นการเรียนการสอน เป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้แสดงความคิด ตามความถนัดของผู้เรียน จัดครูผู้สอนให้ตรงตามสาขา ความต้องการของผู้เรียน ในระดับอนุบาล และประถมศึกษา การเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับเวลาในการจัดกิจกรรม และการเรียน มีความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียน ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ผ่านสื่อการเรียนการสอน หรือกิจกรรมการเรียนรู้ ตรงกับความต้องการของนักเรียน 3) การบริหารจัดการสื่อการเรียนการสอน ได้มีการจัดหา จัดทำ และบริหารจัดการได้ดี เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย การออกแบบภูมิทัศน์ จัดตกแต่งบริเวณภายในสถานศึกษา จะให้ประสบการณ์ตรง กับเด็ก ๆ ให้เกิดการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เหมาะสมทุกด้าน รวมทั้ง นำเทคโนโลยีสื่อ ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ ได้เป็นอย่างดี ตามตัวบริบทของโรงเรียน 4. การบริหารจัดการด้านการวัดผล ประเมินผล มีความเหมาะสม เป็นไปอย่างดีเยี่ยม มีความเหมาะสมสอดคล้องกับตัวชี้วัด มีการวัดผล ประเมินผลทั้งในห้องเรียนโดยการสอบปฏิบัติ โดยวัดผล ประเมินผล ตามสภาพจริง ตามความสามารถของนักเรียน มีการทดสอบการเรียนนักเรียนอย่างต่อเนื่อง จะมีการเน้นย้ำ และส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ตามความถนัดของผู้เรียนเหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย และมีการช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ : TS-SAP-CDO Model โรงเรียนอนุบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้นำการบริหารเชิงกลยุทธ์ 2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4) สร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียน 5) มุ่งเน้นการสร้างทีมข้ามสายงาน 6) มุ่งเน้นกระบวนการคิด และ 7) ผลลัพธ์ความสำเร็จตามกลยุทธ์ พบว่า โดนภาพรวม และรายองค์ประกอบ การบริหารความเป็นเลิศอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก รองลงมา คือ ผู้นำการบริหารเชิงกลยุทธ์ และมุ่งเน้นการสร้างทีมข้ามสายงาน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ : TS-SAP-CDO Model โรงเรียนอนุบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า ความเป็นไปได้ และประโยชน์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านบริบท รองลงมา คือ ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ : TS-SAP-CDO Model โรงเรียนอนุบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า ครู มีความพึงพอใจ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านบริบท รองลงมา คือด้านผลผลิต และด้านปัจจัยนำเข้า คณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านบริบท รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยนำเข้า ส่วนผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านบริบท และด้านผลผลิต รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยนำเข้า