รายงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ประจำปี ๒๕๖๖ การส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านกีฬาโดยใช้ NYW Model โรงเรียนน้ำยืนวิทยา
๑) ชื่อผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม การส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านกีฬาโดยใช้ NYW Model
๒) ระยะเวลาเวลาดำเนินงานตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2566
3) การส่งผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ( กรุณาระบุ √ ลงใน  ที่ตรงกับผลงาน )
เป็นผลงานที่ไม่เคยส่งเข้ารับการคัดสรรกับคุรุสภา
 เป็นผลงานที่เคยส่งเข้ารับการคัดสรรกับคุรุสภา ปี ....... เรื่อง ........แต่ไม่ได้รับรางวัลของคุรุสภา
 เป็นผลงานที่เคยได้รับรางวัลของคุรุสภาและมีการนำมาพัฒนาเพิ่มเติม หรือต่อยอดนวัตกรรม
(ต้องกรอกแบบ นร. ๒)
4) ประเภทผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ( กรุณาระบุ √ ลงใน  ที่ตรงกับผลงาน)
(เลือกได้เพียง ๑ ด้านเท่านั้น)
 การจัดการเรียนรู้ (A)  สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (B)
 การบริหารและการจัดการสถานศึกษา (C) การส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ (D)
 การวัดและประเมินผล (E)
 อื่น ๆ โปรดระบุ (I) .....................................................................
5) ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนน้ำยืนวิทยา เลขที่ 83 หมู่ 2 ถนน วิสูตรโยธาภิบาล
ตำบล/แขวง สีวิเชียร อำเภอ/เขตน้ำยืน จังหวัด อุบลราชธานี
รหัสไปรษณีย์ 34260 โทรศัพท์ ๐-๔๕๕๕-๘๕๗๙ โทรสาร ๐-๔๕๙๕-๙๙๗๐
บทสรุป
ผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม การส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านกีฬาโดยใช้ NYW Model ได้จัดทำขึ้นเนื่องจากโรงเรียนได้พบว่านักเรียนโดยส่วนใหญ่เป็นนักเรียนครอบครัวเกษตรกรรมมีฐานะปานกลางถึงยากจน นักเรียนส่วนใหญ่มีร่างกายที่แข็งแรง มีความสนใจในด้านการออกกำลังกายและกีฬาแต่ยังขาดการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนตามความถนัดเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการตอบสนองให้ผู้เรียนได้เรียน ได้เลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ สามารถเห็นคุณค่าในตนเอง พัฒนาตนเองตามเป้าหมายที่ตนเองวางไว้ ประสบความสำเร็จในการเรียนและการใช้ชีวิต สามารถนำความรู้และประสบการณ์พัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ส่งผลถึงการพัฒนาด้านกีฬาไปสู่ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติหรือระดับสากลในโอกาสต่อไป
การพัฒนานวัตกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกายผู้เรียนให้มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง 2) เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านกีฬาตามความถนัด ความสนใจและความแตกต่างระหว่างบุคคล นำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ 3) เพื่อส่งเสริมพัฒนาความเป็นเลิศด้านกีฬาไปสู่ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติหรือระดับสากล
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมนั้นได้วิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาสภาพปัญหาก่อนการพัฒนา เช่น ๑) พฤติกรรมผู้เรียน พบว่า นักเรียนจำนวนมากมีความพร้อมและความถนัดด้านกีฬาและเลือกเล่นกีฬาตามความถนัดและความเหมาะสม แต่งยังขาดการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนตามความถนัดและความสนใจในด้านกีฬาเท่าที่ควร ๒) ครู ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่ทราบแนวทางชัดเจนในการพัฒนาส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา จึงขาดการสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาส่งเสริมนักเรียนอย่างจริงจัง 3) คุณภาพผู้เรียนในด้านที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนที่มีความถนัดด้านกีฬา พบว่ายังมีจำนวนน้อยมากที่ได้รับการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬา โดยเฉพาะกีฬาชักเย่อ ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ 4) ความพร้อมหรือข้อจำกัดของสถานศึกษา พบว่านักเรียนมีความพร้อมและความถนัดด้านกีฬาและเลือกเล่นกีฬาตามความถนัดและความเหมาะสม แต่โรงเรียนมีงบประมาณไม่เพียงพอ และยังขาดวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ฝึกซ้อม ที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าในระดับสากล โดยเฉพาะกีฬาชักเย่อ
ในการพัฒนานวัตกรรมของโรงเรียน เรื่อง การส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านกีฬาโดยใช้ NYW Model อยู่ในด้าน การส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ (D) ซึ่งโรงเรียนได้พัฒนาโดยยึดรูปแบบตามของนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ NYW Model ซึ่งอิงชื่อในภาษาอังกฤษของโรงเรียนน้ำยืนวิทยา (Namyuenwittaya School) โดยอักษรย่อ N Y และ W ที่มาจากคำศัพท์และความหมาย ดังนี้
N มาจากคำศัพท์ Norm หมายถึง บรรทัดฐานหรือความเป็นมาตรฐาน
Y มาจากคำศัพท์ Yield หมายถึง ผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่เป็นที่ประจักษ์
W มาจากคำศัพท์ Worker Paticipation หมายถึง การมีส่วนร่วมในการทำงานของบุคลากรในองค์กร
ในการพัฒนานวัตกรรมนี้ โรงเรียนได้ใช้รูปแบบ NYW Model ซึ่งเป็นหัวใจขับเคลื่อน ซึ่งรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ใช้ในการบริหารจัดการในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและใช้ขับเคลื่อนทุกกระบวนการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ภายใต้วงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA มีการปฏิบัติงานโดยยึดมาตรฐานของงานเป็นหลัก นำไปสู่การตั้งเป้าหมาย ตัวชี้วัด การกำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมและเป็นที่ประจักษ์ โดยเน้นความสามัคคีในองค์กรและการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การขับเคลื่อนนวัตกรรมภายใต้วงจร PDCA มีกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ P คือ ขั้นการวางแผน โรงเรียนได้ประชุมวางแผน คณะกรรมการระดับต่างๆ เช่น ฝ่ายบริหาร, คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, คณะกรรมการบริหารโรงเรียน, คณะกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้, คณะกรรมการฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างๆ, คณะกรรมการสภานักเรียน, เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน วิเคราะห์สภาพปัญหา จุดเด่น จุดด้อย การพัฒนาส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน
จุดด้อย เราทบทวน แก้ไขปรับปรุง ส่งเสริมตามความถนัดคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สำหรับจุดเด่น เราพัฒนา ต่อยอด ส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศ จากนั้นออกแบบและสร้าง/พัฒนานวัตกรรม ขั้น D ขั้นลงมือปฏิบัติได้ ดำเนินการตามรูปแบบและแนวทางโดยยึดรูปแบบการปฏิบัติตาม Model ในนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย เช่น ฝึกซ้อมนักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาตามแผนที่วางไว้ นำนักเรียน/นักกีฬาเข้าร่วมทำการแข่งขันในระดับต่างๆ เช่น ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติหรือระดับสากล ขั้น C ขั้นติดตามและตรวจสอบ โรงเรียนได้ทำการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดังต่อไปนี้ ผู้เกี่ยวข้องสรุปรายงานโครงการ/กิจกรรม/ผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการหรือเข้าร่วมทำการแข่งขัน นิเทศติดตามการปฏิบัติงาน ประเมินผลการปฏิบัติงาน หลังจากนั้นมีการปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น สุดท้ายขั้น A ได้ทำการประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดังต่อไปนี้
ทบทวนการปฏิบัติงานเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม นำเสนอและจัดทำข้อมูลอย่างเป็นระบบ เป็นข้อมูลสารสนเทศ ของโรงเรียน รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงาน โดยนำผลสะท้อนของผู้ปฏิบัติงาน คณะครู นักเรียน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมาใช้ปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนาและให้ผลลัพธ์การดำเนินงานที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป รวมทั้งบูรณาการความรู้และประสบการณ์ของครูและบุคลากร นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
ผลจากการใช้นวัตกรรม เรื่อง การส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านกีฬาโดยใช้ NYW Model ผู้เรียนมีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ครู ผู้บริหาร สถานศึกษา และชุมชน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เกิดความภาคภูมิใจและมีส่วนสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย โรงเรียนน้ำยืนวิทยา ได้รับรางวัลระดับภูมิภาคและเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันและได้รับรางวัลระดับชาติ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ภาคภูมิใจ ดังนี้
1) รางวัล ชนะเลิศ การแข่งขันกีฬาชักเย่อประเภททีมชาย 8 คน น้ำหนักรวมไม่เกิน 560 กิโลกรัม ระดับภูมิภาค ได้เป็นตัวแทนภาค ๓ การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 37 (พัทลุงเกมส์ ครั้งที่ 37)
2) รางวัล รองชนะเลิศ อันดับ ๑ การแข่งขันกีฬาชักเย่อประเภททีมหญิง 8 คน น้ำหนักรวมไม่เกิน ๔๘๐ กิโลกรัม ระดับภูมิภาค ได้เป็นตัวแทนภาค ๓ การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 37 (พัทลุงเกมส์ ครั้งที่ 37)
3) รางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 2 เหรียญทอง การแข่งขันกีฬาชักเย่อประเภททีมชาย 8 คน น้ำหนักรวมไม่เกิน 560 กิโลกรัม การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 37 (พัทลุงเกมส์ ครั้งที่ 37)
4) รางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 3 เหรียญเงิน การแข่งขันกีฬาชักเย่อประเภททีมหญิง 8 คน น้ำหนักรวมไม่เกิน ๔๘๐ กิโลกรัม การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 37 (พัทลุงเกมส์ ครั้งที่ 37)
จากการพัฒนานวัตกรรมและนำนวัตกรรมไปใช้ทำให้เกิดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practice) อันเป็นวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้เกิดประสบความสำเร็จหรือนำไปสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมายที่วางไว้ สำคัญอย่างที่สุดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศนี้ได้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนอย่างสูงสุด ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเองสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคลอันจะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนสามารถนำความรู้ประสบการณ์ไปพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคมและประเทศชาติในโอกาสต่อไป