ชื่อเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า นางธิรดา ไชยสีย์
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานครพนม มีความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 1) สร้างชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอนภาษาอังกฤษ
ที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของครู ผู้สอนภาษาอังกฤษในช่วงก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอน ภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีต่อการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง
ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม 4) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ที่ได้จากการอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ที่ปฏิบัติการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 51 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 56 คน ซึ่งได้มาโดยการเปิดตารางสำเร็จรูป
และใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดฝึกอบรมการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริม
ทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน
1 เล่ม 2) คู่มือนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน 1 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการอบรมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อ การอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอนภาษาอังกฤษ ที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่ามีความคิดเห็น 5 ระดับ 5) แบบประเมินการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม มีประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพผลผลิต (E2) เท่ากับ 80.45/80.49 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมการจัด การเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ที่เข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม
3. ผลการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ที่ได้จากการนิเทศโดยใช้ชุดฝึกอบรม การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
ในภาพรวม และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีด้านที่มีระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ดังนี้ ด้านความรู้ที่ถูกส่งออกไปนักเรียนสามารถเข้าถึง และรับรู้ได้ และด้านการถ่ายทอดบทเรียนในชั้นเรียน และด้านที่มีการปฏิบัติในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านปฏิสัมพันธ์ ด้านการสร้างความรู้พื้นฐาน ด้านการเตรียมการสอน
ด้านการทบทวนและประเมินผล ด้านการฝึกฝน และด้านกลยุทธ์
4. ความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ที่มีต่อการอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยรูปแบบ SIOP Model สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน
5. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนทั้ง 51 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2564 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2563 โดยรวม เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 2.68 ซึ่งแปรผันตรงกับวัตถุประสงค์การอบรม