ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล
ผู้รายงาน นายอรรถพงศ์ ใจดี
หน่วยงาน / สังกัด โรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล/ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2
ปีที่ประเมิน 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1) ประเมินความเหมาะสมของบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล 2) ประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล 3) ประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ ในเรื่องต่อไปนี้ 4.1) คุณธรรมจริยธรรมนักเรียน จำนวน 10 ด้าน ได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความมีสติและละเอียดรอบคอบ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ความสุภาพ ความยุติธรรม ความมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และความสามัคคี 4.2) คุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล ประชากรที่ใช้ในการประเมิน คือ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 23 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 231 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 231 คน รวมทั้งสิ้น 494 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า รองลงมาด้านบริบท ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ แสดงรายละเอียดดังนี้
1. ด้านบริบท โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณารายข้อ 3 ลำดับแรก พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ลำดับที่ 1 ได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ลำดับที่ 2 ได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพ ความเป็นจริงในปัจจุบัน และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และลำดับที่ 3 กิจกรรมของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณารายข้อ 3 ลำดับแรก พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ลำดับที่ 1 ได้แก่ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ ลำดับที่ 2 ได้แก่ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม และลำดับที่ 3 มีแผนการดำเนินงานตามโครงการอย่างชัดเจน และกิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณารายข้อ 3 ลำดับแรก พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ลำดับที่ 1 ได้แก่ มีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบแก่บุคลากรในการดำเนินโครงการ และรูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม ลำดับที่ 2 ได้แก่ มีมีการกำหนดขั้นตอน รายละเอียดและวิธีดำเนินโครงการ อย่างชัดเจนและเหมาะสม (และลำดับที่ 3 มีการวางแผนการดำเนินโครงการสู่การปฏิบัติ
4. ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากลำดับ 1 เรื่องคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน รองลงมา เรื่องคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ