หัวข้อรายงาน รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนวัดบางคา (บุญชู. ฟุ้ง.ประชานุกูล)
ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2
ชื่อผู้รายงาน นางสาววัลนิภา อุตวงศ์ษา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนวัดบางคา (บุญชู. ฟุ้ง.ประชานุกูล) ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบจำลองซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีมและคณะ (Daneil L.Stufflebeam and Others.) ประกอบด้วยด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) กระบวนการ (Process Evaluation) และผลผลิต (Product Evaluation) 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนวัดบางคา (บุญชู. ฟุ้ง.ประชานุกูล) ปีการศึกษา 2564 ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ 1) ครูโรงเรียนวัดบางคา (บุญชู. ฟุ้ง.ประชานุกูล) ปีการศึกษา 2564 จำนวน 4 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 3) นักเรียนโรงเรียนวัดบางคา (บุญชู. ฟุ้ง.ประชานุกูล) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 41 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดบางคา (บุญชู. ฟุ้ง.ประชานุกูล) ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 41 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 93 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ย ( ) 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) 3) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา  ของครอนบาค (Cronbach) และ 4) หาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามโดยใช้เทคนิค IOC (Index of Item Objective Congruence)
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนวัดบางคา (บุญชู. ฟุ้ง.ประชานุกูล) ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน ปรากฏดังต่อไปนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่โรงเรียนจัดขึ้นได้เป็นอย่างดี รองลงมาได้แก่ หลักการและเหตุผลมีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ สภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินโครงการ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กิจกรรมสามารถดำเนินการได้ในสถานที่ที่กำหนดในโครงการ และโครงการมีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจนเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้ รองลงมาคือ ผู้บริหารเห็นความสำคัญ และให้การสนับสนุนกิจกรรมตามโครงการที่จัดขึ้นเป็นอย่างดี ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ มีวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในโครงการอย่างเพียงพอ
3. ด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กิจกรรมยิ้มใสไหว้สวยด้วยคุณธรรม, กิจกรรมชิดขวาสิค่ะ, และกิจกรรมรักษ์บางคา มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ รองลงมา คือ กิจกรรมจ๊ะจ๋า พูดคะขากับหนูและกิจกรรมห้องเรียนสะอาด บรรยากาศน่าเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ กิจกรรมปิดน้ำ ปิดไฟ ช่วยได้ช่วยกัน
4. ด้านผลผลิต (Product) ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มี ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รองลงมา คืออยู่อย่างพอเพียงและข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ซื่อสัตย์สุจริต
ผลการประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนวัดบางคา (บุญชู. ฟุ้ง.ประชานุกูล) ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ นักเรียนรู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม และกิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข รองลงมาคือ กิจกรรมในโครงการสามารถทำให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มากขึ้น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความร่วมมือของครูและชุมชนในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน