เรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูโรงเรียน
เทศบาล 5 มีชัยวิทยา สังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย
ผู้วิจัย นางชญาณิศ สุใจยา
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 5 มีชัยวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม
ของครูโรงเรียนเทศบาล 5 มีชัยวิทยา สังกัดเทศบาลเมืองหนองคายโดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
(Action Research) และประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบซีโป (CPOS Model) ซึ่งแบ่งการประเมินเป็น
3 ด้าน โดยทำการประเมิน 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ระยะก่อน ดำเนินการ ประเมินโครงการด้าน
ปัจจัยพื้นฐานสภาวะแวดล้อม (Context) ประกอบด้วย 1) ความต้องการจำเป็นของโครงการ 2) ความ
เป็นไปได้ของโครงการ 3) วัตถุประสงค์ของโครงการ และ 4) ความพร้อมและทรัพยากรของโครงการ
ระยะที่ 2 ระยะระหว่างการดำเนินการประเมินโครงการด้านกระบวนการปฏิบัติงาน (Process)ของครู
ในการ ตามกรอบ 1) กิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ และ 2) ระยะเวลาการดำเนินงาน
ของโครงการภายใต้กระบวนการพัฒนาครูไปใช้โดยการสรางชุมชนการเรียนรูทางวิชาชีพ (Professional
Learning Community : PLC) โดยมีกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมคือ 5 ขั้น ขั้นที่ 1 ทำเข้าใจ
กับปัญหา (Empathize) ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหา (define) ขั้นที่ 3 ระดมความคิด (Ideate) ขั้นที่ 4
สร้างต้นแบบนวัตกรรม (Prototype) และขั้นที่ 5 ทดสอบ (Test) นวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย ระยะ
ที่ 3 ระยะเสร็จสิ้นโครงการการประเมินโครงการ ด้านผลผลิต (Output) ตามกรอบการประเมิน 2 ส่วน
คือ ส่วนที่ 1 ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการกล้าคิดกล้าทำ
ด้วยจินตนาการ 2) ด้านการเชื่อมโยงความรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ 3) ด้านการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์
4) ด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ และ 5) ด้านการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างสรรค์ และส่วนที่ 2
ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ครูในโรงเรียนเทศบาล 5
มีชัยวิทยา จำนวน 16 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัย คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู และ 4)
แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการปรากฏผลดังนี้
1. ด้านปัจจัยพื้นฐานสภาวะแวดล้อมของโครงการ พบวา่ ผลการประเมินในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก ซึ่งผานเกณฑ์การประเมินและพิจารณาตามประเด็นย่อย ได้ดังนี้
1.1 ความต้องการจําเป็นของโครงการในภาพรวม ผลการประเมินพบว่ามีความ
ต้องการจําเป็นอยูในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูขาดการพัฒนาการสร้างสื่ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการประเมินมีความต้องการจําเป็นอยูในระดับมาก ส่วนในข้อที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุด การจัดหา การใช้ การดูแลรักษาและขาดงบจัดหาสื่อทันสมัย ครูส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการใช้นวัตกรรม แต่ขาดความต่อเนื่อง บุคลากรขาดความรู้ในการที่จะนำสื่อนวัตกรรมมาใช้ในการวัดผลและประเมินผล การวัดประเมินผล ครูส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการทำแบบทดสอบแบบปรนัย
1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการในภาพรวม ผลการประเมินพบว่ามีความเป็นไปได้อยูในระดับมาก ซึ่งผานเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ่ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 3 ข้อ คือรูปแบบกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมมีความเหมาะสม กับสภาพโรงเรียนโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนการดําเนินกิจกรรม PLC และกิจกรรมการออกแบบ Lesson study ซึ่งมีผลการประเมินอยูในระดับมาก ส่วนในข้อที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ ครูมีเวลาในการดําเนินงานสร้างสรรค์นวัตกรรมจำกัด ซึ่งผลการประเมินอยูในระดับมากเช่นกัน
1.3 วัตถุประสงค์ของโครงการในภาพรวม ผลการประเมินพบว่าวัตถุประสงค์ มีความเหมาะสมอยูในระดับมาก ซึ่งผานเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการมีขอบเขตเวลาที่แน่นอนในการดําเนินการ ซึ่งมีผลการประเมินอยูในระดับมาก
ส่วนในข้อที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุด มี 3 ข้อคือวัตถุประสงค์ ของโครงการมีความชัดเจน สามารถวัดและประเมินผลได้วัตถุประสงค์มีความเหมาะสมสอดคล้องกบสภาพและปัญหาด้านการศึกษาของโรงเรียน วัตถุประสงค์ของโครงการ สามารถดําเนินการได้จริง ซึ่งมีผลการประเมินอยูในระดับมากเช่นกัน
1.4 ความพร้อมของทรัพยากรของโครงการในภาพรวม ผลการประเมินพบวา่ มีความพร้อมของทรัพยากรอยูในระดับมาก ซึ่งผานเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือโรงเรียนได้จัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรมตามโครงการตลอดปีการศึกษา ซึ่งมีผลการประเมินอยูในระดับมาก ส่วนในข้อที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ ขาดนวัตกรรมสื่อคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ซึ่งมีผลการประเมินอยูในระดับมากเช่นกัน
2. ด้านกระบวนการปฏิบัติระหวางดําเนินโครงการ พบว่า ผลการประเมินในภาพรวม
มีความสอดคล้องอยูในระดับมาก ซึ่งผานเกณฑ์การประเมินและพิจารณาตามประเด็นย่อย ได้ดังนี้
2.1 กิจกรรมการดําเนินงานของโครงการในภาพรวม ผลการประเมินพบว่ามีความเหมาะสมอยูในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการแต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบดําเนินโครงการ ซึ่งมีผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก ส่วนในข้อที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ มีการสํารวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งมีผลการประเมินอยูในระดับมากเช่นกัน
2.2 ช่วงเวลาการดําเนินงานของโครงการในภาพรวม ผลการประเมินพบว่ามีความเหมาะสมอยูในระดับมาก ซึ่งผานเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 3 ข้อคือ มีความเหมาะสมของช่วงเวลาในการดําเนินการการบริหารเวลา ในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม สามารถใช้เวลาวางให้เกิดประโยชน์ มีเวลาในการเตรียมความพร้อมของการดําเนินการ ซึ่งมีผลการประเมินอยูในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือการจัดเวลาในการประเมินผลมีความเหมาะสม ซึ่งมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นกัน
ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการปฏิบัติระหวางดําเนินโครงการ ครูเสนอแนะว่า โครงการควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นเพื่อให้ครูเห็นความสําคัญของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยให้ทราบวิธีการ จุดประสงค์ และเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้พัฒนาสื่อให้มีความหลากหลายและมีความน่าสนใจ
3. ด้านการประเมินผลผลิตของโครงการ พบว่า ผลการประเมินในภาพรวม ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมและความพึงพอใจของครูต่อโครงการอยู่ในระดับมาก ซึ่งผานเกณฑ์การประเมินและพิจารณาตามประเด็นย่อย ได้ดังนี้
3.1 ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในภาพรวม ผลการประเมินพบว่าอยูในระดับมาก ซึ่งผานเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ ด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่
ด้านการกล้าคิดกล้าทำด้วยจินตนาการ ด้านการเชื่อมโยงความรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ และด้านการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างสรรค์
3.2 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการในภาพรวม ผลการประเมินพบว่า อยู่ในระดับมาก ซึ่งผานเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือโครงการ/กิจกรรมเอื้ออํานวยพัฒนาความสามารถของครูและการจัดการเรียนการสอนของครู ซึ่งมีผลการประเมินอยูในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมมีความสอดคล้องกับความต้องการของครูซึ่งมีผลการประเมินอยูในระดับมากเช่นกัน