ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก
(Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ ชุด สระแก้ว
เพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวสุพรรษา ทองเปลว
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ ชุด สระแก้วเพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบการสอน ขั้นที่ 3 การทดลองรูปแบบการสอน ขั้นที่ 4 การศึกษาความพึงสำหรับนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนนาฏศิลป์ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ ชุด สระแก้วเพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ พบว่า
1.1 ร่างองค์ประกอบของรูปแบบมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์
3) กระบวนการสอน ขั้นตอนกระบวนการสอนมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นจัดสถานการณ์ ขั้นศึกษาค้นคว้า ขั้นสาธิตทักษะ ขั้นปฏิบัติทักษะ ขั้นสรุปผล และขั้นประยุกต์ใช้
1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
1.3 ในการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในปัจจุบันจะใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้ โดยการบรรยายและสาธิตท่ารำ นักเรียนยังยึดติดกับการเรียนการสอนที่เน้นการบอกให้จำให้จด มากกว่าการเรียนการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการ ครูต้องการให้มีการจัดอบรมและเน้นให้ครูจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
2. การสร้างรูปแบบการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง สระแก้วเพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
2.1 รูปแบบการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง สระแก้วเพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 4 ด้าน คือ 1) องค์ประกอบด้านหลักการ 2) องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบด้านกระบวนการสอน 4) องค์ประกอบด้านบทบาทของครูและบทบาทสำหรับนักเรียน ความเหมาะสมรูปแบบการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง สระแก้วเพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองรูปแบบการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง สระแก้วเพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง สระแก้วเพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 84.42/83.00 ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง สระแก้วเพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง สระแก้วเพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจสำหรับนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง สระแก้วเพริดแพร้วพิลาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก