สาขาวิชาการสอนพลศึกษา
ชัยวัฒน์ ผ่องสังข์. (2565). กการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนที่มีต่อทักษะการเล่นลูกสองมือล่างในกีฬาวอลเลย์บอล โดยการใช้แบบฝึกยางยืดออกกำลังกาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพมหานคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาวิธีการสอนโดยการใช้ยางยืดออกกำลังกายในการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนที่มีต่อทักษะการเล่นลูกสองมือล่างในกีฬาวอลเลย์บอล 2. เพื่อศึกษาผลการใช้ยางยืดออกกำลังกายในการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนที่มีผลต่อทักษะการเล่นลูกสองมือล่างในกีฬาวอลเลย์บอล
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต กทม. จำนวน 10 คน ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบและมีความสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการเล่นลูกสองมือล่างในกีฬาวอลเลย์บอล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test
ผลการวิจัย พบว่า
จากผลการใช้โปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนโดยใช้ยางยืดออกกำลังกายต่อการพัฒนาทักษะการเล่นลูกสองมือล่างในกีฬาวอลเลย์บอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 10 คน ค้นพบว่าภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการเล่นลูกสองมือล่างในกีฬาวอลเลย์บอลดีขึ้น ซึ่งแสดงว่าการโปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นขึ้นมีผลดีต่อการพัฒนาทักษะของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายนี้ผู้วิจัยจึงสรุปว่ารูปแบบการฝึกที่พัฒนาขึ้นนั้นสามารถนำไปพัฒนานักเรียนได้จริง โดยมีผลการวิจัย ดังนี้
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน (จากตารางที่ 3) ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ย 18.85 กิโลกรัม ภายหลังสัปดาห์ที่ 6 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 20.36 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีการพัฒนาขึ้นเมื่อได้ใช้ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกด้วยยางยืดออกกำลังกาย
ผลการทดสอบทักษะการเล่นลูกสองมือล่างในกีฬาวอลเลย์บอลของทั้ง 10 คน ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 2.8 คะแนน ภายหลังสัปดาห์ที่ 6 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 13.3 คะแนน (จากตารางที่ 1) มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 10.5 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยดังกล่าวแล้วทำให้เห็นว่าการใช้โปรแกรมการฝึกด้วยยางยืดออกกำลังกายส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ซึ่งนักเรียนมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนอยู่ในเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นทุกคน และเมื่อมาทดสอบหลังการฝึกนักเรียนส่วนมากมีผลคะแนนที่ดีขั้น แต่ยังมีนักเรียนบางคนที่ผลคะแนนยังไม่ผ่านเกณฑ์ก็ยังคงต้องมั่นฝึกฝนและพัฒนาตนเองต่อไป