บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบการพัฒนาครู เพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 2. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 3.เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี และ 4.เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling)ซึ่งเป็นครู โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จำนวน 13 คน เครื่องมือวัดที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.90 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของครูผู้สอน มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 3)แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี มีค่าอำนาจจำแนก 0.26 - 0.93 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย(x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified)
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สามารถแบ่งออกเป็นองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบและองค์ประกอบย่อย 15 องค์ประกอบ ผลการประเมินองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.74 ; S.D.= 0.44)
2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า สภาพปัจจุบันมีการดําเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง(x̄ = 3.41 ; S.D.= 0.54) และสภาพที่พึงประสงค์มีความพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด(x̄ = 4.74; S.D.= 0.44)
3. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย รูปแบบย่อย 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบย่อยที่ 1 การเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ รูปแบบย่อยที่ 2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ รูปแบบย่อยที่ 3 การประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม (x̄ = 4.61 ; S.D.= 0.30) มีความเป็นไปได้ (x̄ = 4.78 ; S.D.= 0.29) และมีความเป็นประโยชน์ (x̄ = 4.87 ; S.D.= 0.14) อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า
4.1 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก(x̄ = 4.70 ; S.D.= 0.19)
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบและคู่มือรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านการประเมิน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวม เท่ากับ 4.81 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรเท่ากับ 0.20