ชื่อผลงาน การประเมินโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1
ชื่อผู้ประเมินโครงการ สุรัตน์ ประคำ
ปีที่ศึกษา 2564
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) และ เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 31 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 31 คน และครู จำนวน 6 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านหนองจาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 รวมทั้งสิ้นจำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ IOC หาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม และ สัมประสิทธิ์แอลฟาหาความเที่ยงของแบบสอบถาม
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
การประเมินโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ผู้ประเมินได้สรุปผลการประเมินตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงสามลำดับดังนี้ ด้านผลผลิต (Product) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านสภาวะแวดล้อม (Context)
2. ผลการประเมินโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงสามลำดับดังนี้ การประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการ มีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ในด้านทักษะพื้นฐานด้านการเกษตรการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ มีความสัมพันธ์ สอดคล้อง และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการดำเนินการของโครงการ
3. ผลการประเมินโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงสามลำดับดังนี้ สถานที่ในการดำเนินโครงการเพียงพอและเหมาะสม งบประมาณที่ใช้สำหรับดำเนินโครงการมีความเหมาะสมเพียงพอ และความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกิจกรรมการเลี้ยงปลา
4. ผลการประเมินโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงสามลำดับดังนี้ การกำหนดขั้นตอนการจัดทำโครงการพอเพียงมีความชัดเจน กิจกรรมในโครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ และมีการนิเทศ ติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำและให้กำลังใจในการทำงาน
5. ผลการประเมินโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 ด้านผลผลิต (Product) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงสามลำดับดังนี้ ผลการดำเนินกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว ทำให้นักเรียนเป็นผู้มีวินัย ใฝ่เรียนรู้และมีจิตอาสา ผลการดำเนินกิจกรรม ทำให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาในโรงเรียน และมีผลการดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงกบ ทำให้นักเรียน มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมีจิตอาสา
6. ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองจาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ
1. ด้านสภาวะแวดล้อม โรงเรียนควรมีการวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียนและชุมชน เพื่อปรับปรุงและ พัฒนาขีดความสามารถในการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนในทุก ๆ ด้าน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โรงเรียนควรสนับสนุนให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการโครงการมีการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับความรู้และความสามารถที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง
3. ด้านกระบวนการ ควรมีการกำหนดวัน เวลา และระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมอย่างชัดเจน กำหนดรูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น และดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านผลผลิต ควรมีการจัดกิจกรรมโครงการให้ครอบคลุม เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียนแต่ละช่วงวัย เน้นการดำเนินกิจกรรมที่ต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตอาสา ตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรประเมินโครงการพัฒนาหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ควรมีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในด้านความซื่อสัตย์สุจริตและความมุ่งมั่นในการทำงาน
3. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินโครงการเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง