บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน
กลุ่มตัวอย่าง ในการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน
ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งสวน ปีการศึกษา 2564 สุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sample) ได้กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูประจำการ จำนวน 5 คน บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 50 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 คน นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 14 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 คน นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน รวม 112 คน ปีการศึกษา 2564 สุ่มตัวอย่างโดย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sample) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ ตามวิธีของ ลิเคิร์ท (Likert) จำนวน 7 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้สถิติร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน สรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำการ และบุคคลากรทางการศึกษาที่มีต่อ
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.52) ผ่านเกณฑ์ประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านผ่านเกณฑ์ประเมิน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านผลผลิต ( = 4.55, S.D. = 0.51) เป็นอันดับแรก ด้านบริบท ( = 4.54, S.D. = 0.51) เป็นอันดับรองลงมา ด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.50, S.D. = 0.52) และ ด้านกระบวนการ ( = 4.45, S.D. = 0.54) ตามลำดับ มีรายละเอียดแต่ละด้าน ดังนี้
1.1 ด้านบริบท ผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำการ และบุคคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการระบบดูช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.51) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยความคิดสูงอยู่ในสามอันดับแรก ตามระดับความคิดเห็นค่าเฉลี่ย ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสอดคล้องกับสภาพของชุมชน และบริบทของโรงเรียน ( = 4.83, S.D. = 0.83) เป็นอันดับแรก รองลงมา ผู้บริหารมีแผนปฏิบัติการที่ระบุโครงการ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน ( = 4.75, S.D. = 0.45) และ ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีเวลาในการดำเนินงานตามโครงการ มีระดับความคิดเห็นค่าเฉลี่ย ( = 4.66, S.D. = 0.49) เป็นอันดับที่สาม ส่วนความคิดในข้ออื่นๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไปและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำการ และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการดำเนินงานโครงการระบบดูช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน ในด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณาความคิดเห็นตามค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นเรียงจากมากไปหาน้อย ด้านวัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินโครงการ ( = 4.59, S.D. = 0.52) เป็นอันดับแรกด้านบุคลากรระดับความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ย ( = 4.51, S.D. = 0.51) เป็นอันดับสอง และด้านงบประมาณ ระดับความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ย ( = 4.41, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณาระดับความคิดเห็นเป็นรายข้อทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ใน สามอันดับแรกเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ โรงเรียนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนที่ชัดเจน ระดับความคิดเห็นมากที่สุด ( = 4.91, S.D. = 0.28) เป็นอันดับแรก รองลงมา อุปกรณ์เพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ( = 4.83, S.D. = 0.38) และ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูล การดำเนินโครงการในหลากหลายช่องทาง ( = 4.75, S.D. = 0.45) เป็นอันดับที่สาม ส่วนความคิดในข้ออื่นๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไปและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
1.3 ด้านกระบวนการ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำการ และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการระบบดูช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นเรียงจากมากไปหาน้อย ด้านการบริหารจัดการ ( = 4.50, S.D. = 0.58) และ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมีค่าเฉลี่ย ( = 4.50, S.D. = 0.53) เป็นอันดับแรก รองลงมา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( = 4.49, S.D. = 0.52) ด้านการคัดกรองนักเรียน ( = 4.45, S.D. = 0.55) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ( = 4.44, S.D. = 0.53 ) ด้านการส่งต่อ ( = 4.34, S.D. = 0.53) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ใน สามอันดับแรก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ โรงเรียนจัดทำข้อมูลพื้นฐานนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยแยกด้านความสามารถ ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัว ด้านสารเสพติด ด้านความปลอดภัยพฤติกรรมทางเพศไว้อย่างชัดเจน และโรงเรียนจัดกิจกรรมโฮมรูม ( = 4.83, S.D. = 0.38) เป็นอันดับแรก รองลงมา โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนทบทวนการเรียนในวิชาต่าง ๆ ( = 4.75, S.D. = 0.45) และ ผู้บริหาร พัฒนาให้ครูประจำชั้นและบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ในการดำเนินงานตามแผนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ( = 4.66, S.D. = 0.49) โรงเรียนมีการใช้ระเบียนสะสมและผลการประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) และผลการศึกษานักเรียนในวิธีการอื่นๆ หรือการคัดกรองนักเรียน ( = 4.66, S.D.= 0.47) โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การรู้จัก ควบคุมตนเองและเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิต ( = 4.66, S.D. = 0.49) เป็นอันดับที่สาม ส่วนความคิดในข้ออื่นๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไปและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
ด้านความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวนมีความคิดเห็นต่อโครงการระบบดูช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวนด้านกระบวนการ ระดับความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D.=0.57) เมื่อพิจารณาตามค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นเรียงจากมากไปหาน้อย ด้านการคัดกรองนักเรียน ระดับความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ย ( = 4.55, S.D. = 0.56) เป็นอันดับแรก รองลงมา ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีค่าเฉลี่ย ( = 4.51, S.D. = 0.56) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมีค่าเฉลี่ย ( = 4.50, S.D. = 0.55) ด้านการส่งต่อมีค่าเฉลี่ย ( = 4.42, S.D. = 0.56) ด้านการบริหารจัดการ ( = 4.40, S.D. = 0.59) และ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนมีค่าเฉลี่ย
( = 4.37, S.D. = 0.59) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ใน สามอันดับแรก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ โรงเรียนใช้แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) มีค่าเฉลี่ย ( = 4.86, S.D. = 0.35) เป็นอันดับแรก รองลงมา โรงเรียนมีการสำรวจความต้องการของนักเรียนในการจัด กิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.80, S.D. = 0.40) และ โรงเรียนออกเยี่ยมบ้านนักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( = 4.78, S.D. = 0.41) ส่วนความคิดในข้ออื่นๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไปและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
1.4 ด้านผลผลิต ผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำการ และบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นต่อโครงการระบบดูช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.45, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณาตามค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นเรียงจากมากไปหาน้อย ด้านความสามารถของนักเรียน ( = 4.68, S.D. = 0.51) เป็นอันดับแรก ด้านคุณลักษณะของนักเรียน ( = 4.61, S.D. = 0.51) ด้านการปกป้องตนเอง มีค่าเฉลี่ย ( = 4.48, S.D. = 0.52) ด้านครอบครัวและความเป็นอยู่ ( = 4.41, S.D. = 0.50) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ใน สามอันดับแรก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ นักเรียนมีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบต่อครอบตัวและผู้อื่น ( = 4.91, S.D. = 0.28) เป็นอันดับแรก รองลงมา นักเรียนได้แสดงออกและเข้าร่วมกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจของตัวเอง ( = 4.83, S.D. = 0.38) และนักเรียนสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองให้พ้นภัยจากสิ่งเสพติด และการถูกหลอกลวงมีค่าเฉลี่ย ( = 4.75,
S.D. = 0.45) เป็นอันดับที่สาม
ด้านนักเรียนมีความคิดเห็นต่อโครงการระบบดูช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาตามค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นเรียงจากมากไปหาน้อย ด้านการปกป้องตนเอง ( = 4.59, S.D. = 0.56) เป็นอันดับแรก ด้านคุณลักษณะของนักเรียน ( = 4.47, S.D. = 0.60) เป็นอันดับรองลงมา ด้านครอบครัวและความเป็นอยู่ ( = 4.46, S.D. = 0.61) ด้านความสามารถของนักเรียน ( = 4.43, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ใน สามอันดับแรก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์การประเมินของโรงเรียน ( = 4.82, S.D. = 0.38) เป็นอันดับแรก รองลงมา นักเรียนไม่ลองไม่เสพยาเสพติดไม่ยุ่งเกี่ยวเพื่อหาผลประโยชน์กับยาเสพติด ( = 4.80, S.D. = 0.40) นักเรียนสามารถทำความดีเพื่อตนเองครอบครัว ญาติพี่น้องของตนเองได้ ( = 4.78,S.D. = 0.41) เป็นอันดับที่สาม ส่วนความคิดในข้ออื่นๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไปและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
ด้านผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นต่อโครงการระบบดูช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสวน ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณาตามค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นเรียงจากมากไปหาน้อย ด้านการปกป้องตนเอง ( = 4.59, S.D. = 0.54) เป็นอันดับแรก ด้านครอบครัวและความเป็นอยู่ ( = 4.45, S.D. = 0.55) ด้านความสามารถของนักเรียน ( = 4.40, S.D. = 0.54) และด้านคุณลักษณะของนักเรียน ( = 4.39, S.D. = 0.69) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทุกข้อมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงอยู่ใน สามอันดับแรก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ นักเรียนรับฟังและปฏิบัติตามคำสอน คำแนะนำ ของผู้ปกครอง ( = 4.84, S.D. = 0.37) เป็นอันดับแรก รองลงมา ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และผ่านเกณฑ์การประเมินของโรงเรียน ( = 4.82, S.D. = 0.38) และนักเรียนสามารถหลีกเลี่ยงการเสพยาเสพติดจากการพูดล่อลวงของผู้อื่นได้
( = 4.78, S.D. = 0.37) เป็นอันดับที่สาม