บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดโคกศักดิ์ (เซี้ยนประชารัฐ) ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวอุมารัตน์ เกลี้ยงเมือง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโคกศักดิ์ (เซี้ยนประชารัฐ)
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1
ปีที่ประเมิน : 2564
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดโคกศักดิ์ (เซี้ยนประชารัฐ) ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ในปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จำนวน 81 คน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 34 คน ครู จำนวน 3 คน ผู้ปกครอง จำนวน 34 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวน 6 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามด้านสภาพแวดล้อมประเมินก่อนการดำเนินงานตามโครงการ 2) แบบสอบถามด้านปัจจัยก่อนประเมินการดำเนินงานตามโครงการ 3) แบบสอบถามด้านกระบวนการประเมินระหว่างการดำเนินงานตามโครงการ 4) แบบสอบถามด้านผลผลิตประเมินหลังการดำเนินงานตามโครงการ ด้านคุณภาพผู้เรียน 5) แบบสอบถามด้านผลผลิต ประเมินหลังการดำเนินงานตามโครงการ ด้านความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 6) แบบสอบถามด้านผลผลิตประเมินหลังการดำเนินงานตามโครงการ ด้านความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. )สรุปผลการประเมินดังนี้
ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดโคกศักดิ์ (เซี้ยนประชารัฐ) ปีการศึกษา 2564 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการโดยการประเมิน จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินรายตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.3 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและ อยู่ในระดับมาก
1.4 ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการโดยการประเมิน จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินรายตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัด มีดังนี้
2.1 ด้านผู้บริหาร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.2 ด้านครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.3 ด้านด้านผู้ปกครองและชุมชนพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.4 ด้านนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.5 ด้านสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการโดยการประเมิน จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินรายตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวชี้วัด มีดังนี้
3.1 ด้านการวางระบบการบริหารงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
3.2 ด้านการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
3.3 ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล รายงานผลและพัฒนา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินรายตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด มีดังนี้
4.1 ด้านคุณภาพนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านความคิดเห็นของนักเรียนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4.3 ด้านความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินโครงการ ในภาพรวมของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมาก