สรุปและอภิปรายผลการวิจัย (Results and Discussion)
ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศและคุณภาพการศึกษาด้านคุณภาพการจัดสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนมีผลต่อการพยากรณ์ระดับความพึงพอใจ
ของผู้ปกครองนักเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อนำเอาคะแนนมาตรฐานมาสร้างสมการพยากรณ์จะได้รูปของสมการต่อไปนี้
ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน = .18 (คุณภาพการจัดสิ่งแวดล้อม)
ดังนั้นแนวทางต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานีจึงประกอบด้วยแนวทางเดียวคือ
การพัฒนาคุณภาพการจัดสิ่งแวดล้อมซึ่งประกอบด้วย
1) การจัดขนาดของห้องเรียนให้มีความเหมาะสมกับความจุของนักเรียน และในประเด็นนี้ Fuller et al (1999) อธิบายว่าเป็นการเข้าเรียน
ตามปกติ (Regular Attendances for Learning) และการเข้าเรียนในชั้นเรียนเป็นประจำและแสดงต่อหลักสูตร มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
และนักเรียนที่เข้าเรียนสม่ำเสมอในอัตราการเข้าเรียนสูงจะมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสูงด้วย (Miske & Dowd, 1998)
2) การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์การเรียนไว้คอยให้ความสะดวกสบายในการเรียนของนักเรียน อันถือว่าเป็นคุณภาพของสิ่งอำนวย
ประโยชน์ของโรงเรียน (Quality of School Facilities) สิ่งอำนวยประโยชน์เช่น อุปกรณ์ในโรงเรียนหัวหน้ามีผลกระทบโดยตรงกับผลการเรียน
(Learning Outcomes) (Willims, 2000)
3) สร้างบรรยากาศภายในโรงเรียนและในห้องเรียนให้น่าสนใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียน อันเป็นการพัฒนาความสนใจในการเรียนรู้
ของผู้เรียนผ่านบทบาทของตัวเองและผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะนำไปสู่ความน่าสนใจในการเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรม และที่สำคัญคือ
ความพยายามทำให้การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ที่คอยกระตุ้นเตือนให้ผู้เรียนได้ตื่นตัวไปกับการเรียนรู้และตระหนักอยู่เสมอต่อความเป็นนักเรียน
ที่ต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทุกกรณี (ธนภณ สมหวัง, 2564)