บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการ 2. สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการ 3. ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
ด้านการบริหารงานวิชาการ และ 4. ตรวจสอบและรับรองผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา
สู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการ โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จากนั้นใช้เทคนิคการวิจัยรูปแบบ SMAI Model ในการพัฒนารูปแบบ
การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา
ครูวิชาการ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองราชบุรี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อคู่มือการปฏิบัติงานบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ปฏิบัติได้จริง และตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการ ที่ได้จาก การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำ ทางวิชาการ 2) ภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในโรงเรียน 3) กระบวนการบริหารงานวิชาการ 4) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหาร
งานวิชาการ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ SMAI Model พบว่า องค์ประกอบทุกองค์ประกอบ มีความเหมาะสม ทุกตัวบ่งชี้ (มีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป, ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 และผลต่างระหว่างฐานนิยม กับมัธยฐานไม่เกิน 1.50) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา
สู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการ มี 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 19 องค์ประกอบหลัก 114 ตัวบ่งชี้ ผู้บริหารสถานศึกษา และ/หรือหัวหน้างานวิชาการ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า
มีความเหมาะสมทั้งหมด อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหาร
งานวิชาการ โดยวิธีใช้แบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ในการตรวจสอบความถูกต้อง
ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 100 และคู่มือการปฏิบัติงานวิชาการและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการ
ของโรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองราชบุรี
โดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้างานวิชาการมีความเห็นว่าองค์ประกอบมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
4. ผลการตรวจสอบและการรับรองผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการ พบว่า การตรวจสอบรับรองความเหมาะสมขององค์ประกอบรูปแบบ
การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด