การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านปะหละ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 จำนวน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ
การประเมิน CIPPIEST การประเมินแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการ
เป็นการประเมินบริบทและปัจจัยนำเข้าของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) ครู จำนวน 12 คน
2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 3) คณะกรรมการที่ปรึกษา จำนวน 20 คน
และ 4) คณะกรรมการผู้ปกครอง จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ เป็นการประเมินกระบวนการของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ และระยะที่ 3 หลังดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลผลิต ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 77 คน 2) ครู จำนวน 6 คน และ 6) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน
6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล จำนวน 4 ฉบับ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S = 0.48) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55,
S = 0.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานภาพรวมของ 10 กิจกรรมในโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S = 0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ มีดังนี้
4.1 ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาในระดับ 3 ขึ้นไป ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนบ้านปะหละ ปีการศึกษา 2563 โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 95.51 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4.2 คะแนนเฉลี่ยร้อยละผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านปะหละ ในภาพรวม (75.66) มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละมากกว่า
ผลการประเมินระดับประเทศ (73.02) โดยมีค่ามากกว่า 2.64 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2562 พบว่า มีการพัฒนา 8.48 คะแนน
4.3 คะแนนเฉลี่ยร้อยละผลการประเมินคุณภาพนักเรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปะหละ ในภาพรวม (73.60) มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละมากกว่าผลการประเมินระดับ
ประเทศ (43.97) โดยมีค่ามากกว่า 29.63 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2562 พบว่า มีการพัฒนา 14.93 คะแนน
4.4 คะแนนเฉลี่ยร้อยละผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปะหละ ในภาพรวม (50.29) มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละมากกว่า
ผลการประเมินระดับประเทศ (42.13) โดยมีค่ามากกว่า 8.16 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2562 พบว่า มีการพัฒนา 6.79 คะแนน
5. ผลการประเมินผลกระทบของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S = 0.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และพบว่า นักเรียนมีความมุ่งมั่นและสนใจต่อการเรียนมากขึ้น มีพัฒนาการทางการเรียนดีขึ้น มีความมั่นใจในตนเองและ
กล้าแสดงออกมากขึ้น มีความสุขและสนุกกับการทำกิจกรรม มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาต่าง ๆ และชีวิตประจำวัน ส่งผลให้นักเรียน
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียน แม้จะ
อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงโรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ
6. ผลการประเมินประสิทธิผลของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S = 0.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และพบว่า ผลสำเร็จของโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เกิดความคุ้มค่าและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน
ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาเพิ่มขึ้น ผลการประเมินความสามารถด้าน
การอ่านของผู้เรียน (RT) ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศและสูงกว่าปีการศึกษา
ที่ผ่านมา ซึ่งตอบสนองความต้องการของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
7. ผลการประเมินความยั่งยืนของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S = 0.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และพบว่า นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาต่าง ๆ และต่อยอดในการเรียนในระดับสูงขึ้น และสามารถสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนประจำจังหวัดได้ โรงเรียนมีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินโครงการที่ชัดเจน การจัดกิจกรรมมีความหลากหลาย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการ ทำให้โครงการประสบผลสำเร็จและสามารถเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนอื่นได้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน โครงการควรดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ในทุก ๆ ปีการศึกษา
8. ผลการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S = 0.53) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และพบว่า นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากโครงการไปถ่ายทอดให้กับเพื่อน รุ่นน้อง และผู้ปกครอง โรงเรียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลเกี่ยวกับความสำเร็จของการดำเนินโครงการกับโรงเรียนต่าง ๆ และมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมในโครงการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้สาธารณชนรับทราบ
จากผลการประเมินโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านปะหละ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยรวม พบว่า ผลการประเมินโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกด้าน จึงถือได้ว่าเป็นสารสนเทศที่แสดงให้
เห็นถึงความคุ้มค่าและความสำเร็จของการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการ ปรับปรุง และพัฒนาโครงการต่อไป ดังนั้น โครงการนี้จึงควรดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ควรนำผลการประเมินโครงการครั้งนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เพื่อให้เกิดผลสำเร็จที่ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คำสำคัญ การประเมินโครงการ การยกระดับคุณภาพผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน