ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนท่าระหัดราษฎร์สฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางธิติกานต์ จันทวัฒน์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนท่าระหัดราษฎร์สฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชากร จำนวน 30 คน ได้แก่ ครู จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 9 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context) การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนท่าระหัดราษฎร์สฤษฎิ์ ผลการประเมินโครงการด้านบริบท (Context) ตามความคิดเห็นของครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมกับบริบท อยู่ในระดับมาก (µ = 4.18, σ = 0.26)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนท่าระหัดราษฎร์สฤษฎิ์ ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามความคิดเห็นของครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าในภาพรวมมีความเพียงพออยู่ในระดับมาก (µ = 4.31, σ = 0.30)
3. ด้านกระบวนการ (Process) การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนท่าระหัดราษฎร์สฤษฎิ์ ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.20, σ = 0.26)
4. ด้านผลผลิต (Product) การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนท่าระหัดราษฎร์สฤษฎิ์ ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าในภาพรวมมีมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (µ = 4.33, σ= 0.22)