การประเมินแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 4 ปี (ปีการศึกษา 2561-2564)
โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ จังหวัดเชียงใหม่
Assessment of The educational development plan
(The academic year 2018-2021) Banhuainumdib School, Chiang Mai Province.
ม่อนถิ่น นพคุณ*
Montin Nopprahum
การประเมินแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 4 ปี (ปีการศึกษา 2561-2564) โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ จังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษา โดยใช้ CIPP Model และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา ด้วยเทคนิค AAR โดยแบ่งการประเมินเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษา โดยใช้ CIPP Model และระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา ด้วยเทคนิค AAR จำนวนประชากรทั้งหมด 130 คน เก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบประเมินและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง กับแผนพัฒนาการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินแผนพัฒนาการศึกษา
1.1 ผลการประเมินแผนพัฒนาการศึกษา โดยใช้ CIPP Model ประกอบด้วย 1) ด้านบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯X= 4.63, S.D.= 0.22)
1.2 ผลการดำเนินงาน (Results) ตามแผนพัฒนาการศึกษา (ปีการศึกษา 2561-2564)
1.2.1 ผลผลิต (Output) พบว่า
1) ผลการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนระดับปฐมวัย สะอาด สดใส นักเรียนผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจ ภาพรวมระดับดี-ดีมาก ปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 72.48 ปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 78.93 ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 85.53 และปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 88.93 และระดับประถมศึกษา ผู้เรียนมีทักษะชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจ ภาพรวมระดับดี-ดีมาก ปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 75.84 ปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 81.84 ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 81.88 และปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 93.39
2) คุณภาพการศึกษา จากรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (SAR) พบว่า คุณภาพการศึกษาเมื่อสิ้นแผนพัฒนาการศึกษาในปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 ดังนี้
(1) ระดับปฐมวัย คุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2564 สูงกว่า ปีการศึกษา 2561 คิดเป็นร้อยละ 20.28
(2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2564 สูงกว่า ปีการศึกษา 2561 คิดเป็นร้อยละ 16.21
1.2.2 ผลลัพธ์ (Outcome) ระดับความพึงพอใจการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 4 ปี (ปีการศึกษา 2561-2564) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯X= 4.88, S.D. = 0.18)
1.2.3 ผลกระทบ (Impact) จากความสำเร็จการดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 4 ปี (ปีการศึกษา 2561-2564) สร้างความพึงพอใจ สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับ นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน และ สถานศึกษาได้รับรางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม การระดมทรัพยากรการศึกษาและการบริหารจัดการเรียนรู้ในรูปหุ้นส่วนการศึกษา (Education Partnership) เป็นแหล่งเรียนรู้ และต้นแบบประยุกต์ใช้ของสถานศึกษา และหน่วยงานอื่น อาทิ ด้านการประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษา ด้วย CIPP Model การสะท้อนผลการพัฒนา ด้วย AAR และต้นแบบการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา โดยกระบวนการวางแผนเชิงอนาคต (Scenario Planning)
2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา
2.1 ผลจากการสนทนากลุ่มและการสะท้อนผลการพัฒนาด้วยเทคนิค AAR (After Action Review ) ของผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง มีข้อเสนอในการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษาที่สนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษา สอดคล้อง ทิศทางนโยบาย...สพฐ.:วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ และวิสัยทัศน์... สร้างคุณภาพทุนมนุษย์ สู่...สังคมอนาคตที่ยั่งยืน ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียน โดย 1) สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนบนฐาน...BBL 2) พัฒนาหุ้นส่วนการศึกษา (Education Partnership) ร่วมขับเคลื่อนผลักดัน การบูรณาการทักษะชีวิต ทักษะวิชาการ และทักษะอาชีพแบบองค์รวมฐานสมรรถนะ และ 3) จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา (ปีการศึกษา 2566-2570) ด้วยกระบวนการวางแผนเชิงอนาคต (Scenario Planning)
2.2 ผลการประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายจัดทำพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2566-2570) ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯X= 4.83, S.D. = 0.21)
คำสำคัญ : การประเมิน ,แผนพัฒนาการศึกษา ,CIPP Model ,AAR
______________________________________
*นายม่อนถิ่น นพคุณ Mr. Montin Nopprahum
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าหลุก รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ จังหวัดเชียงใหม่