ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
ผู้ประเมิน นายวัชระ ชวีวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนประชารัฐบำรุง
อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
ปีที่ประเมิน 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) เป็นแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebean) ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) (Product Evaluation) และประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 299 คน ประกอบด้วย 1) ผู้ใช้บริการห้องสมุด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน นักเรียนโรงเรียนประชารัฐบำรุง จำนวน 135 คน 2) ผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการห้องสมุด ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนประชารัฐบำรุง จำนวน 135 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม เพื่อประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้
1) แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบ (Checklist) สอบถามเกี่ยวกับเพศ อายุ และสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแบบของลิเคอร์ต (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
ผลการการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
1. การดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต ตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลของการประเมินโครงการรายด้านสามารถสรุปได้ ดังนี้
1.1) ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนโรงเรียนประชารัฐบำรุง มีความเห็นต่อด้านบริบทและสภาพแวดล้อม โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.46, S.D. = 0.62) และเมื่อพิจารณารายข้อ โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ระยะเวลาดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด( ¯x = 4.86, S.D. = 0.38) อันดับรองลงมา ได้แก่ โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( ¯x = 4.84, S.D. = 0.37) และผู้บริหาร ครู บุคลากร และชุมชนเห็นความสำคัญ ส่งเสริม และสนับสนุนโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนประชารัฐบำรุง ( ¯x = 4.71, S.D. = 0.49) โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนประชารัฐบำรุง มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียนในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน อยู่ในระดับมากที่สุด( ¯x = 4.61, S.D. = 0.38) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียนไม่ต่อเนื่องและครอบคลุมนักเรียนทั้งหมด อยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.06, S.D. = 0.66)ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
1.2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนโรงเรียนประชารัฐบำรุง มีความเห็นต่อด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.32, S.D. = 0.60) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และโรงเรียนจัดสรรงบประมาณการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง อย่างเหมาะสมและเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน( ¯x = 4.86, S.D. = 0.38) อันดับรองลงมา ได้แก่ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.67, S.D. = 0.50) และห้องสมุดมีการบริหารจัดการ และการบริการที่ประทับใจ สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.42, S.D. = 0.51) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ครูและบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน อยู่ในระดับมาก( ¯x = 3.89, S.D. = 0.60) ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
1.3) ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนโรงเรียนประชารัฐบำรุง มีความเห็นต่อด้านกระบวนการดำเนินงาน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.25, S.D. = 0.68) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการทราบ เพื่อตระหนักถึงความสำคัญและการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.35, S.D. = 0.53) อันดับรองลงมา ได้แก่ กิจกรรมที่ดำเนินการของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง เป็นไปตามกระบวนการ ขั้นตอนที่กำหนดในโครงการ และมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.33, S.D. = 0.65) และมีการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนประชารัฐบำรุง อยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.33, S.D. = 0.67) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินการโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนประชารัฐบำรุง เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.07, S.D. = 0.56) ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
1.4) ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนโรงเรียนประชารัฐบำรุง มีความเห็นต่อด้านผลผลิต โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก( ¯x = 3.93, S.D. = 0.63) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนใกล้เคียง มีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนประชารัฐบำรุง อยู่ในระดับมากที่สุด( ¯x = 4.17, S.D. = 0.71) อันดับรองลงมา ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนประชารัฐบำรุง อยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.07, S.D. = 0.57) และนักเรียนสนใจ ติดตามหนังสือและวารสารใหม่ๆ ที่ห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนอ่านหนังสือทุกประเภท อยู่ในระดับมาก( ¯x = 3.72, S.D. = 0.72) ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
การประเมินเปรียบเทียบระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาในระดับ 3 ขึ้นไป กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก 5 กลุ่มสารการเรียนรู้ (คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ และสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม) ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 โรงเรียนประชารัฐบำรุง พบว่า การประเมินผลผลิตของโครงการด้านระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แต่ละรายวิชาในระดับ 3 ขึ้นไป กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ (คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม) ของโรงเรียนประชารัฐบำรุง เมื่อเปรียบเทียบปีการศึกษา 2563 กับ ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามลำดับ
ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
2. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก( ¯x = 4.23, S.D. = 0.54) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาผลของการประเมินความพึงพอใจรายด้านสามารถสรุปได้ ดังนี้
2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง พบว่า ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม (Context) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก( ¯x = 3.82, S.D. = 0.58) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน อยู่ในระดับมาก ( ¯x = 3.94, S.D. = 0.64) อันดับรองลงมา ได้แก่ โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ( ¯x = 3.89, S.D. = 0.58) และผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน เห็นความสำคัญ ส่งเสริม และสนับสนุนโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนประชารัฐบำรุง อยู่ในระดับมาก( ¯x = 3.83, S.D. = 0.62) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนทราบ อยู่ในระดับมาก( ¯x = 3.67, S.D. = 0.49) ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง พบว่า ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( ¯x = 4.58, S.D. = 0.62) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.89, S.D. = 0.32) อันดับรองลงมาได้แก่ โรงเรียนมีสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ สำหรับจัดกิจกรรมอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D. = 0.46) และห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือ ตลอดจนสื่อต่าง ๆ ที่ทันสมัย มีเนื้อหาหลากหลายตรงกับความต้องการของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.61) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ห้องสมุดมีระบบการบริหารจัดการ และการบริการที่ประทับใจ ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน อยู่ในระดับมาก ( = 4.17, S.D. = 0.86) ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2.3 ผลการประเมินความพึงพอใจด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง พบว่า
1) ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, S.D. = 0.43) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนประชารัฐบำรุง อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม อยู่ในระดับมาก( = 4.42, S.D. = 0.51) อันดับรองลงมา ได้แก่ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม การจัดทำบันทึกรักการอ่าน ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก ( = 4.33, S.D. = 0.65) และผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนประชารัฐบำรุง อยู่ในระดับมาก ( = 4.17, S.D. = 0.58) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการทราบ เพื่อตระหนักถึงความสำคัญและการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก ( = 4.00, S.D. = 0.00) ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2) ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินกิจกรรมที่ดำเนินการของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง ตามกระบวนการ ขั้นตอน ที่กำหนดในโครงการ และมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ ( = 4.89, S.D. = 0.52) และเมื่อพิจารณารายกิจกรรม พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ กิจกรรมยอดนักอ่าน ( = 4.93, S.D. = 0.28) อันดับรองลงมา ได้แก่ กิจกรรมการบริการชุมชน ( = 4.80, S.D. = 0.49) และกิจกรรมบุคลากรรักการอ่าน ( = 4.73, S.D. = 0.53) ส่วนกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กิจกรรมยุวบรรณารักษ์ ( = 4.53 , S.D. = 0.54) ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2.4 ผลการประเมินความพึงพอใจด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง พบว่า ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนประชารัฐบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ด้านผลผลิต (Product Evaluation) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก( = 4.33, S.D. = 0.54) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนในปกครองของท่านมีพัฒนาการด้านทักษะการอ่านเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ( = 4.42, S.D. = 0.54) ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน มีความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนประชารัฐบำรุง ( = 4.38, S.D. = 0.53) และนักเรียน ในปกครองของท่านยืมหนังสือ วารสาร จากห้องสมุดกลับไปอ่านที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ ( = 4.30, S.D. = 0.60) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนในปกครองของท่านสนใจและชักชวนเพื่อน พี่น้อง หรือ ผู้ปกครอง อ่านหนังสือทุกครั้งเมื่อมีเวลาว่าง ( = 4.28, S.D. = 0.50) ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้