งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน HTS STEP MODEL
สู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์
คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน HTS STEP MODEL สู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 3) เพื่อทดลองใช้และขยายผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน และ 4) เพื่อประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารจัด
การโรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ แบบประเมินรูปแบบ แบบประเมินประสิทธิภาพ แบบวัดความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบและแบบประเมินการพัฒนารูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ( Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า
1) โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูนมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพใน 3 ด้าน คือ ด้านคุณภาพของผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ 2) รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน HTS STEP MODEL สู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ประกอบไปด้วยหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ แนวทางและวิธีปฏิบัติ และขั้นตอนการดำเนินงานของรูปแบบ ผลการตรวจสอบ
ความสอดคล้องขององค์ประกอบรูปแบบ พบว่า องค์ประกอบมีความสอดคล้องกันอยู่ในระดับ
มากที่สุด และผลการตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้และการขยายผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน HTS STEP MODEL สู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน พบว่าด้านโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษา
ด้านครูผู้สอน และด้านนักเรียนมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอยู่ในระดับมาก 4) การประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน HTS STEP MODEL พบว่า ทั้งด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต
และผลกระทบมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกด้าน