การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SRICA เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โรงเรียนเทศบาล 2 วัดชัยมงคล อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ SRICA เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SRICA เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
3) เพื่อหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SRICA เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SRICA เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดชัยมงคล สังกัดเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t - test Dependent
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SRICA เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่ 1 ขั้นการเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง ขั้นที่ 2 ขั้นสะท้อนความคิด ขั้นที่ 3 ขั้นร่วมกันกระทำ ขั้นที่ 4 ขั้นสรุป - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์นำไปใช้
จากการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SRICA ไปตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 - 1.00 แสดงว่ารูปแบบการจัด
การเรียนรู้แบบ SRICA มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของเด็กนักเรียนได้
2. ผลการหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SRICA เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์พบว่า หลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SRICA เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SRICA เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของเด็กนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.62, S.D.= 0.49)