วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก
2.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
2.3กกเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก
2.4เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
3. สมมติฐานการวิจัย
3.1กกประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกกที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
3.2กกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย
วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก ที่พัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก อยู่ในระดับมาก
4. ขอบเขตการวิจัย
4.1กกการวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือภาคเรียนที่ 2/2557 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
4.2กกประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ
4.2.1กลุ่มนักเรียนได้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาการวิจัยในครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีโดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 1 ห้องเรียนจำนวนนักเรียน 34 คน
4.3กกตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้
4.3.1 ตัวแปรต้นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
4.3.2 ตัวแปรตามได้แก่
ก) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก
ข) ผลการศึกษาทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีจำนวน 34 คนโดยวัดผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
4.4กกเนื้อหา
4.4.1 เนื้อหาที่นำมาพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในครั้งนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิกกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งผู้วิจัยได้สรุปจากคำอธิบายแล้วนำมาสรุปเป็นขอบเขตเนื้อหาของบทเรียนที่จะทดลองได้หัวข้อเรื่องที่จะนำมาร่างเป็นแผนการเรียนเพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหน่วยการเรียนดังนี้ในการเรียนรู้
ก) หน่วยการเรียนรู้ที่ก1กหลักการพื้นฐานมัลติมีเดีย
ข) หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การสร้างงานมัลติมีเดีย
ค) หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเผยแพร่ผลงาน
4.5กกสถิติที่ใช้ในการวิจัย
4.5.1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าอำนาจจำแนกค่าความเชื่อมั่นค่าความยากง่ายและค่าดัชนีความสอดคล้อง
4.5.2 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบ Dependent
5. นิยามศัพท์เฉพาะ
5.1 การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือการเรียนการสอนบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบที่มีศักยภาพในด้านการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้ใช้งานเข้ามาประกอบในการออกแบบรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอนที่กระทาผ่านสื่อบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตนี้ทำได้โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต (Web) หรือเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) ทำให้เกิดรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้เว็บเป็นพื้นฐาน หรือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเรียนรู้ทำให้มีคำเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น
การเรียนอย่างมีปฏิสัมพันธ์ด้วยเว็บ (Web based Interactive Learning Environment)
การศึกษาผ่านเว็บ (WebbasedEducation) การนำเสนอมัลติมีเดียผ่านเว็บ (Webbased
Multimedia Presentations) หรือการศึกษาที่ช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Education Aid)
เป็นต้น (บุปผชาติ, 2544 : 4)
5.2กกประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายถึงความสามารถของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดและเกณฑ์ที่คาดหวังไว้
5.3 ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 มีรายละเอียดดังนี้
80 ตัวแรกหมายถึงค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนแบบฝึกหัดในบทเรียนแต่ละบทโดยคิดเป็นค่าร้อยละ 80 ตัวหลังหมายถึงค่าคะแนนเฉลี่ยของจำนวนคำตอบที่ผู้เรียนตอบถูกต้องจากการทำ
แบบทดสอบหลังเรียนหลังจบบทเรียนทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าร้อยละ 56
5.4กกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึงความรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นหลังจากผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยวัดผลได้จากคะแนนการทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ
5.5กกแบบทดสอบหมายถึงแบบวัดผลทางการเรียนแบบเลือกตอบชนิด 4กตัวเลือกเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลก่อนเรียนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย
5.6กกนักเรียนหมายถึงนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี
6. วิธีการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงทดลอง ผู้วิจัยได้กำหนดแบบแผนการทดลองโดยใช้รูปแบบ
แผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อน-สอบหลัง
(One Group Pretest Posttest design) ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design
สำหรับสัญลักษณ์ที่ใช้ มีดังต่อไปนี้
E หมายถึง กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผ่านเว็บที่สร้างขึ้น
T1 หมายถึง การทดสอบก่อนที่จะดำเนินการทดลอง ได้แก่ Pretest
X หมายถึง วิธีการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
T2 หมายถึง การทดสอบหลังจากดำเนินการทดลอง ได้แก่ Posttest
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
7.1กกได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิคชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพใช้ในการจัดการเรียนการสอนและผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาตามความพร้อมของแต่ละบุคคล
7.2กกผู้เรียนได้รับสื่อที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนแต่ละบุคคลตามความสามารถของผู้เรียนและสามารถศึกษาได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่
7.3กกผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
7.4กกเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อใช้ในวิชาอื่นๆและผู้เรียนกลุ่มอื่นๆต่อไป
บรรณานุกรม
มนต์ชัยเทียนทอง. การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ :
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2545.
ลัดดาวัลย์ สวัสดิ์หลง. 2551. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บด้วยการเรียนรู้แบบ
โครงงานเพื่อการเรียนรู้เป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุชาติ วงศ์สุวรรณ. 2542. การเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 : การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง.
กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ.
นิตยา นากองศรี. 2553. การสร้างบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย ด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี