ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
ผู้วิจัย นางสาวเรวดี มนตรีพิลา
สถานศึกษา โรงเรียนขวาววิทยาคาร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
ปีที่พิมพ์ 2563
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research : R&D) รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 27และ 4) เพื่อศึกษาการใช้คู่มือการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จากนั้นใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 สร้างคู่มือการงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 สู่การปฏิบัติได้จริง และตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27
1.1 สภาพปัจจุบันทางการบริหารงานวิชาการของของโรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 ทั้ง 9 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับ คะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการนิเทศการศึกษา
ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา ด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอน ผลการเรียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37
1.2 สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.61
เมื่อพิจารณารายด้านที่มีเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.69 และ
ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอน ผลการเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51
1.3 ลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอน ผลการเรียน ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการนิเทศการศึกษา
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการ 2) ภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในโรงเรียน
3) กระบวนการบริหารงานวิชาการ 4) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ และ 5) ทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR พบว่า องค์ประกอบทุกองค์ประกอบ มีความเหมาะสม ทุกตัวบ่งชี้
(มีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป คำพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 และผลต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐานไม่เกิน 1.50) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ มี 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 20 องค์ประกอบหลัก 121 ตัวบ่งชี้ ผู้บริหารสถานศึกษา และ/ หรือหัวหน้างานวิชาการ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่ามีความเหมาะสมทั้งหมด อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด คู่มือการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้างานวิชาการมีความเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
4. ผลการใช้คู่มือการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 นำคู่มือฯ ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือ ครูผู้สอนโรงเรียนขวาววิททยาคาร จำนวน 19 คน นักเรียนโรงเรียนขวาววิททยาคาร ในภาคเรียนที่ 2/2562 และ ในภาคเรียนที่ 1/2563 พบว่า
4.1 ความเหมาะสมของคู่มือคู่มือการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.2 ระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการโดยใช้คู่มือการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เข้ารับการพัฒนา โดยรวม ทุกองค์ประกอบหลักหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการพัฒนาต่อคู่มือการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขวาววิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.4 การวิเคราะห์การประเมินพฤติกรรมทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนขวาววิทยาคาร ที่ได้รับจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาคเรียนที่ 2/2562 และ ภาคเรียนที่ 1/2563 พบว่า นักเรียนที่มี
ภาคเรียนและปีการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนขวาววิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2/2562 ทุกรายการ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงสูงขึ้น
ทุกรายการ