ชื่อเรื่อง รายงานการนิเทศแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบโครงงานของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
อุบลราชธานี เขต 1
ผู้รายงาน นางวิไลลักษณ์ จรูญโรจน์วิทย์
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูปฐมวัย เรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงาน (Project Based Learning) และศึกษาผลการนิเทศแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการทดลองใช้เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูปฐมวัย เรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงาน (Project Based Learning) ได้แก่ ครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 214 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มเป้าหมายการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงาน (Project Based Learning) ของครูปฐมวัยโดยใช้การนิเทศแบบร่วมมือ จำนวน 55 คน ได้แก่ ครูวิชาการโรงเรียน จำนวน 5 คน ครูผู้สอนปฐมวัย จำนวน 5 คน เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 อำเภอละ 1 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนปทุมวิทยากร อำเภอเมืองอุบลราชธานี เด็กปฐมวัยจำนวน 10 คน โรงเรียนเขื่องใน (เจริญราษฎร์) อำเภอเขื่องใน เด็กปฐมวัยจำนวน 10 คน โรงเรียนบ้านหนองหล่มหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ เด็กปฐมวัยจำนวน 10 คน โรงเรียนชุมชนโพนเมืองวิทยา อำเภอเหล่าเสือโก้ก เด็กปฐมวัยจำนวน 5 คน โรงเรียนดอนมดแดง (บ้านดงบัง) อำเภอดอนมดแดง เด็กปฐมวัยจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูปฐมวัย เรื่อง การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบโครงาน (Project Based Learning) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรม แผนการนิเทศ แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงาน (Project Based Learning) ระดับปฐมวัย และแบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ สรุปผลการศึกษา ดังนี้ 1) ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูปฐมวัย เรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงาน (Project Based Learning) คะแนนระหว่างอบรม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.25 คะแนนหลังอบรมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 81.13 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.25 / 81.13 มีค่าสูงกว่า เกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80 / 80 2) การทดสอบก่อนอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 12.48 คะแนน และการทดสอบหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 16.23 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังอบรม พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของผู้อบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การนิเทศแบบร่วมมือ ประกอบด้วยการดำเนินงาน 2 ระดับ คือ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา มี 5 ขั้น ได้แก่ขั้นที่ 1 การวางแผน ขั้นที่ 2 ดำเนินการนิเทศ ขั้นที่ 3 การควบคุมปรับปรุง พัฒนาการนิเทศ ขั้นที่ 4 การประเมินผลและรายงานผล ขั้นที่ 5 การเผยแพร่ขยายผล และระดับสถานศึกษา มี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผน ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการนิเทศจากภายในและภายนอก ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการสอน ขั้นที่ 4 ประเมินผล และขั้นที่ 5 การเผยแพร่ขยายผล 4) คะแนนผลประเมินความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงาน (Project Based Learning) ของครูมีคะแนนอยู่ในระดับมาก 5) เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวนทั้งหมด 45 คน ผ่านการประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 100
คำสำคัญ: การนิเทศแบบร่วมมือ, การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงาน, การคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ
Title: The study of Collaborative Supervision to develop learning experience in Project - Based Learning of early childhood
teachers in Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 1
Reporter Mrs.Wilailuck Charoonrotwit
Position: Educational Supervisor, Academic Position, Specialized
Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 1
Reporting year Academic year 2020
Abstract
The purpose of this study was to create a training package for an early childhood teacher development workshop on Project - Based Learning and to study the results of collaborative supervision to develop learning experience in Project Based Learning of early childhood teachers in Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 1. The populations used in this experimental was the 214 early childhood teachers. The sample consisted of 40 early childhood teachers by purposive sampling. The target group of Project - Based Learning supervision using collaborative supervision were 55 early childhood, 5 school academic teachers, 5 early childhood teachers, and 45 Grade 3 kindergarten who was selected from the schools in 5 District of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 1 by purposive sampling. There was 1 school per each District consisting of 10 Grade 3 kindergarten of Pathum Wittayakorn School in Mueang Ubon Ratchathani District, 10 Grade 3 kindergarten of Khueang Nai School (Charoen Rat) in Khueang Nai District, 10 Grade 3 kindergarten of Ban Nong Lom Nong Lao School in Muang Sam Sip District, 5 Grade 3 kindergarten of Chumchon Phon Muang Wittaya School in Lao Suea Kok District, 10 Grade 3 kindergarten of Don Mod Daeng School (Ban Dong Bang) in Don Mod Daeng District. The tools used in this study were a training package for early childhood teachers to develop Project - Based learning, a pre-test and posttest of training, a collaborative supervision plan, and an ability assessment form of problem solving and decision making. The results of the study were summarized as follows: 1) The effectiveness of the training package had an efficiency of 80.25/81.13, which was higher than efficiency standard 80/80. 2) The pre test had an average score of 12.48 and the posttest had an average score of 16.23 respectively. The posttest scores were significantly higher than pre-test at the significant level of .05. 3) There were 2 levels of Collaborative Supervision. First, the Educational Area level, consisting of 5 steps as follow 1) Planning, 2) Conducting Supervision, 3) Controlling Development, 4) Evaluation, and 5) Dissemination. Second, the School level, consisting of 5 steps as follow 1) Planning, 2) Internal and External Supervision, 3) Teaching operations, 4) Evaluation, and 5) Dissemination. 4) The teachers ability in Project Based Learning instruction was at the high level. 5) All 45 Grade 3 kindergarten were passed the problem solving and making decision assessment at 100%.
Keywords: Collaborative Supervision, Project - Based Learning, Problem - Solving and Making Decision