ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
ผู้รายงาน นายสุเมธ มัดธนู
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต องค์ประกอบย่อยด้านผลกระทบ องค์ประกอบย่อยด้านประสิทธิผล องค์ประกอบย่อยด้านความยั่งยืน และองค์ประกอบย่อยด้านการถ่ายโยงความรู้ และ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ผู้รายงานใช้วิธีการประเมินของ Danial L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest (CIPPiest Model) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถามความคิดเห็นและการสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและผู้ดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 48 คน คณะกรรมการอำนวยการโครงการ จำนวน 5 คน ครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ จำนวน 113 คน กลุ่มผู้ร่วมโครงการ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 347 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 347 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยใช้รูปแบบ CIPPiest (CIPPiest Model) โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการอำนวยการโครงการ มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านบริบท (Context) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน กล่าวคือ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคลองกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด (กระทรวงศึกษาธิการ และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวม พบว่า มีความหมาะสม ในระดับมาก โดยผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ นักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความต้องการที่จะเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ ครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ คือ คู่มือครู เอกสารประกอบการสอนจัดการเรียนการสอนรายวิชางานอาชีพมีความเพียงพอ
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ มีความเห็นสอดคล้องกัน ได้แก่ ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการจัดการเรียนรู้
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Products) องค์ประกอบย่อยด้านผลกระทบ (Impact) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ ได้แก่ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานเพื่อการศึกษาต่อสายอาชีพ กลุ่มของนักเรียน ได้แก่ ผู้เรียนนำความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานงานอาชีพที่เรียนไปใช้ในการแก้ปัญหาและชีวิตประจำวันได้ และกลุ่มของผู้ปกครองนักเรียน ได้แก่ ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
6. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Products) องค์ประกอบย่อยด้านประสิทธิผล (Effectiveness) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพและผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของทั้ง 3 กลุ่ม คือ ผู้เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาพึงพอใจในการดำเนินงาน/กิจกรรม/โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพ
7. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Products) องค์ประกอบย่อยด้านความยั่งยืน (Sustainability) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพและผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของทั้ง 3 กลุ่ม คือ นักเรียนนำความรูที่ได้จากการเรียนการสอน การร่วมกิจกรรม โครงการไปประยุกต์ใช้ในการทำงานที่บ้าน
8. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Products) องค์ประกอบย่อยด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability) โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของทั้ง 3 กลุ่ม คือ สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพแบบยั่งยืน สามารถถ่ายทอดความรู้ แนวคิด เกิดประโยชน์กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาศึกษาดูงาน
ผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุง โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 พบว่า มีปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า การรับทราบวัตถุประสงค์และรายละเอียดของโครงการสถานศึกษาควรมีการจัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์และรายละเอียดของโครงการอย่างชัดเจน ทุกปีการศึกษา
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า งบประมาณสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านอาชีพมี จำนวนจำกัด ไม่เพียงพอ ต่อการส่งเสริมประสบการณ์อาชีพให้แก่นักเรียนอย่างทั่วถึง ควรสร้างและหาเครือข่ายความร่วมมือ สถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมทักษะอาชีพ สร้างเป้าหมายร่วมกัน บูรณาการกิจกรรม ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมกำกับติดตาม ร่วมชื่นชม มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนตามความเหมาะสมและความพร้อมในการดำเนินการ
3. ด้านกระบวนการ พบว่า สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ และไม่ เชื่อมโยงไปสู่บริบทต่าง ๆ ของโลกอาชีพ สถานศึกษาควรจัดทำและพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการของ ตลาดแรงงาน ความต้องการของจังหวัดอุบลราชธานี บริบทของโรงเรียนและชุมชน โดยความร่วมมือของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนบางส่วนขาดทักษะพื้นฐานเพื่อการศึกษาต่อสายอาชีพ สถานศึกษาควรจัดกิจกรรม The Idol บุคคลต้นแบบ โดยเชิญผู้ที่ประสบความ สำเร็จในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่น่าสนใจ มาสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีอาชีพและมีงานทำ
5. ด้านผลกระทบ พบว่า ค่านิยมผู้ปกครองนักเรียน ส่งเสริมให้บุตรเรียนต่อสายสามัญ สถานศึกษาควรจัดแสดงผลงานแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ประกวดผลงานของสถานศึกษาและสถานประกอบการที่เข้าร่วมพัฒนา นำเสนอต่อสาธารณชน และยกย่องเชิดชูเกียรติ 6. ด้านประสิทธิผล พบว่า การประสานงานกับบุคลากร หรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องไม่ชัดเจน สถานศึกษาควรทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถานประกอบการ หน่วยงานที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะอาชีพ
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, พัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะอาชีพ, รูปแบบการประเมิน
แบบ CIPPiest (CIPPiest Model)