บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี
โรงเรียนบ้านปล้องส้าน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ผู้ประเมิน นายกิตติพงษ์ โฆทวี
ปีการศึกษา 2564
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี โรงเรียนบ้านปล้องส้าน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลความสัมพันธ์ระหว่างด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาของโครงการ โดยแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ 1.1) ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังของโครงการ และ 1.2) ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ 2) ประเมินความสอดคล้อง ระหว่างความคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในด้านสิ่งนำด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาของการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี โรงเรียนบ้านปล้องส้าน และ 3) ประเมินการตัดสินใจในด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาของการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี โรงเรียนบ้านปล้องส้าน เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม รวมทั้งสิ้น 99 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ เพื่อนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาเสริมผลการประเมินให้ชัดเจนขึ้น ได้มาโดยการใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการประเมิน
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี โรงเรียนบ้านปล้องส้าน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย สรุปผลการประเมิน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาของการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี โรงเรียนบ้านปล้องส้าน 1) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.52 , S.D. = 0.42) และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.72 , S.D. = 0.37) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ด้านสิ่งนำ พบว่า ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการปฏิบัติ พบว่า ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านผลที่ตามมา พบว่า ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.69 , S.D. = 0.41) และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.79 , S.D. = 0.34) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน ด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาในความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังของโครงการ และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ตามความคิดเห็นของ ผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ตามความคิดเห็นของนักเรียน ด้านผลที่ตามมาของโครงการ พบว่า ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของความคาดหวังจากโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ความสอดคล้องระหว่างความคาดหวังของโครงการกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี โรงเรียนบ้านปล้องส้าน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน พบว่ามีความสอดคล้องกัน
3. การตัดสินใจของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี โรงเรียนบ้านปล้องส้าน ด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดเกณฑ์สัมบูรณ์ในด้านสิ่งนำของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี โรงเรียนบ้านปล้องส้าน คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 87.40 ในระดับมาก (ช่วงเกณฑ์ 85.00-90.80) ในด้านการปฏิบัติของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี โรงเรียนบ้านปล้องส้าน คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 94.07 ในระดับมากที่สุด (ช่วงเกณฑ์ 92.20-96.80) และในด้านผลที่ตามมาของโครงการ คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 92.80 ในระดับมากที่สุด (ช่วงเกณฑ์ 91.80-93.20) ผลการตัดสินใจใช้ข้อมูลจากครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ในด้านสิ่งนำ ด้านการปฏิบัติ และด้านผลที่ตามมาผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์สัมบูรณ์ทุกด้าน และผลการประเมิน และการตัดสินคุณค่าของโครงการ จากครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ในด้านว่าความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปว่าโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สุขกายสบายชีวี โรงเรียนบ้านปล้องส้าน เป็นโครงการที่บรรลุวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการจึงถือว่าเป็นโครงการที่ดี เพราะมีคุณค่าที่ผ่านเกณฑ์สัมบูรณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ