การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความจําเป็น
ในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัด
กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2) การออกแบบและพัฒนา
รูปแบบการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกอง
การศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 3) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา
ศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษา
เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการ
พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกอง
การศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ครูผู้สอน
ในโรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา จำนวนครูที่เข้าร่วมโครงการโดยความสมัครใจ จำนวน 21คน ดำเนินการวิจัยและพัฒนา
(Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการ
เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษา
วิเคราะห์สภาพและประเมิน ความจําเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การ
ทดลองใช้รูปแบบ และ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความจําเป็นในการพัฒนาศักยภาพด้าน
การวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบล
พะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า สภาพปัญหาของครูผู้สอนส่วนมากประสบปัญหาการขาด
ความรู้ ความเข้าใจ ขาดทักษะ ขาดแรงจูงใจ ขาดการสนับสนุนด้านทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ ขาดสื่อ
นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา แหล่งสืบค้นข้อมูลที่ทันสมัย ขาดผู้ให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือในการ
ทำวิจัยในชั้นเรียน แนวทางแก้ไขปัญหา ได้แก่ หน่วยงานต้นสังกัดและโรงเรียนควรกำหนดเป็นนโยบาย
ข
และให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้สนับสนุนด้านงบประมาณ หรือวัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็นต่อการ
จัดทำวิจัยในชั้นเรียน ควรได้รับคำแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยในชั้นเรียน ผลการวิเคราะห์
แบบสอบถามความคิดเห็นของครูด้านสภาพปัญหาและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู
พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง
2. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียน
โรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา พบว่า มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) การช่วยเหลือครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน (Treatment)
2) การให้โอกาสในการทำงาน (Opportunity) 3) การคิดเชิงบวก (Positive thinking) 4) การส่งเสริมให้
ครูได้รู้จักและเข้าใจตนเอง (Self-awareness) 5) การส่งเสริมให้ ครูสร้างทีมและทำงานเป็นทีม (Team
building and Teamwork) 6) การส่งเสริมให้ครูได้เรียนรู้จาก การลงมือทำวิจัยในชั้นเรียนด้วยตนเอง
(Authentic Learning) 7) การส่งเสริมให้ครูสามารถเขียนรายงานผลการวิจัยได้ (Report) ซึ่งมีขั้นตอน
การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของครู 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การอบรม (Training) การจัด
กิจกรรมการอบรมมี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเชื่อมโยงประสบการณ์ ขั้นที่ 2 ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้น
การนําเสนอ ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและประเมินผล ขั้นที่ 5 ขั้นสะท้อนผลลัพธ์ขั้นตอนที่ 2 การเป็นพี่เลี้ยง
(Mentoring) ขั้นตอนที่ 3 การฝึกปฏิบัติ (Doing) ขั้นตอนที่ 4 การนิเทศ (Supervision) และขั้นตอนที่
5 การสะท้อนผลลัพธ์ (Reflective Outcome) ผลการประเมินโครงสร้างและองค์ประกอบของการ
พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัด
กองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่
ในระดับมาก
3. การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู
โรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา จากการประเมินความรู้พื้นฐานด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้เข้ารับการอบรม พบว่า
จำนวนครู21 คน มีคะแนนหลังการอบรมสูงกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม จากจำนวนครู 21 คน
คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครู และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการ
ปฏิบัติกิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 8 หน่วย โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
4. การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียน
ของโรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอ
หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า ความพึงพอใจของครูที่มีต่อองค์ประกอบของรูปแบบและเงื่อนไข
ความสำเร็จในการนํารูปแบบไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู และความพึง
พอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูที่เข้าร่วมโครงการ ที่นํากระบวนการวิจัย
ในชั้นเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด