ชื่องานวิจัย การพัฒนาความสามารถด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับกลุ่มนักเรียน
ที่ขาดทักษะ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย วนิดา ประดับศรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ได้ สืบเนื่องจากช่วงสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลให้ผู้เรียนบางคน ขาดทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนเรียนสามารถมีทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้อง จึงได้ทำการนำผลของแต่ละการสังเกต มาหาค่า ร้อยละ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และหาข้อสรุป
ผลการศึกษาปรากฏว่า จากการศึกษาและวิเคราะห์แบบสังเกตเพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มนักเรียนที่ขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในเรื่องการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ code.org แก้ปัญหาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ โดยคิดจากนักเรียน 35 คน แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีการพัฒนาและมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้นจากเดิม
¬ก่อนเรียน อยู่ในระดับ พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 100 ( 35 คน )
หลังเรียน อยู่ในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 48.57 ( 17 คน )
หลังเรียน อยู่ในระดับ ดี คิดเป็นร้อยละ 37.14 ( 13 คน )
หลังเรียน อยู่ในระดับ พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 14.29 ( 5 คน )
การพัฒนาความสามารถด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
สำหรับกลุ่มนักเรียนที่ขาดทักษะ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ความสำคัญและที่มา
จากการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ 2560) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น และ นำไปใช้ในการดำรงชีวิตหรือศึกษาต่อในวิชาชีพที่ต้องใช้แนวคิดเชิงคำนวณ การแก้ปัญหา ด้วยเทคโนโลยี สารสนเทศ กระบวนการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของหลักสูตรคือ นักเรียนจะต้องเข้าใจแนวคิดหลัก ของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้ และทักษะทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ หรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งเข้าใจและใช้ แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ จากการสอนในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนบางกลุ่มยังขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ จึงส่งผลให้นักเรียนไม่กล้าที่จะลงมือปฏิบัติงานผ่านการใช้คอมพิวเตอร์
ดังนั้น ผู้ทำวิจัย จึงหาวิธีที่จะดำเนินการเพื่อจะแก้ปัญหา เพื่อให้นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติงานจริงผ่านคอมพิวเตอร์ได้โดยการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ code.org
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถมีทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์
2. เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
ปัญหาการขาดทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์ของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ตัวแปรตาม
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยกะปิ ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อศึกษาปัญหาการขาดทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ของนักเรียนจำนวน 5 ข้อ โดยให้นักเรียนเรียงลำดับพฤติกรรมตามลำดับที่มากที่สุดจนถึงน้อยที่สุดจากลำดับ 1 5 และได้ทำการนำผลของการสังเกตมาหาค่า ร้อยละ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และหาข้อสรุปพร้อมทั้งนำเสนอในรูปของตารางประกอบคำบรรยาย เพื่อศึกษาปัญหาการขาดทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้(นวัตกรรม) ที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้จัดการเรียนการสอนได้
2. ได้แนวทางในการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ
3.ค้นพบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนมีทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์
ขอบเขตของการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนโดยการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ code.org นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 35 คน โดยใช้หัวข้อการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน จำนวน 5 ข้อ และได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้
ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือกลุ่มนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยกะปิ ในระดับชั้นประถมปีที่ 2 จำนวนห้องเรียนจำนวน 35 คน
แบบสังเกตพฤติกรรมที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสังเกตเพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มที่ขาดทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในเรื่องการจำนวน 5 ข้อ
วิธีดำเนินการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบสังเกตพฤติกรรม
ขั้นตอนการดำเนินการ
ในการดำเนินการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในเรื่องการทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ แก้ปัญหาการขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมเพื่อหาสาเหตุของการขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยได้วางแผนการดำเนินการศึกษา สร้างแบบสังเกตพฤติกรรม โดยใช้ข้อความที่คาดว่าจะสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและได้ดำเนินการซึ่งมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนดังนี้
1.ขั้นวิเคราะห์ ( Analysis)
1.1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน การวิเคราะห์ผู้เรียนได้กำหนดไว้ดังนี้
ประชากร คือกลุ่มนักเรียนที่ขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยกะปิ จำนวน 35 คน
1.2 วิเคราะห์สาเหตุของการคิดไม่เป็นระบบของนักเรียน โดยการหาค่าร้อยละ
2. ขั้นออกแบบ (Design)
ผู้วิจัยดำเนินการสร้างแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน โดยมีลำดับขั้นตอนการสร้างดังนี้
- ศึกษาเทคนิคการสร้างแบบสังเกตจากเอกสารต่างๆ
- สร้างแบบสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มนักเรียนที่ขาดทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 ข้อ โดยการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนโดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ code.org
3. ขั้นดำเนินการ
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้มีการดำเนินการดังนี้
3.1 นำแบบสังเกตเพื่อสังเกตพฤติกรรมโดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ code.org ของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยกะปิ จำนวน 35 คน เพื่อศึกษาปัญหาการขาดทักษะการคิดไม่เป็นระบบ
3.2 ดำเนินการหาค่าร้อยละของแต่ละข้อสาเหตุ
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล
- วิเคราะห์ผลจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบการสังเกตพฤติกรรม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การหาค่าร้อยละ
ค่าร้อยละ = X x 100
N
เมื่อ X = คะแนนที่ได้
N = จำนวนนักเรียนทั้งหมด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตและแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนการเปรียบเทียบจากการประเมินผลโดยวิธีการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนในขณะเล่นกิจกรรม หลังการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ code.org นักเรียนที่ได้ระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 48.57 เปอร์เซ็น นักเรียนที่ได้ระดับดีคิดเป็น 37.14 เปอร์เซ็น นักเรียนที่ได้ระดับพอใช้คิดคิดเป็น ร้อยละ 14.29 เปอร์เซ็น
สรุปผลการศึกษาวิจัย
จากการศึกษาและวิเคราะห์แบบสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มนักเรียนขาดทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในเรื่องการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ code.org แก้ปัญหาการขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีการพัฒนาและมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นจากการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ code.org
ก่อนเรียน อยู่ในระดับ พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 100 ( 35 คน )
หลังเรียน อยู่ในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 48.57 ( 17 คน )
หลังเรียน อยู่ในระดับ ดี คิดเป็นร้อยละ 37.14 ( 13 คน )
หลังเรียน อยู่ในระดับ พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 14.29 ( 5 คน )
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่าการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ code.org สามารถนำมาแก้ปัญหาเรื่องการขาดทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ของนักเรียนได้จริง จึงเห็นสมควรที่ครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ หรือรายวิชาอื่นๆ สามารถนำเอาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ code.org เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการและสามารถนำไปใช้ในรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆได้