บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง รายงานผลการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาคู่มือการนิเทศเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
2. เพื่อศึกษาสมรรถนะการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรีต่อการใช้กระบวนการนิเทศเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community)
กลุ่มตัวอย่าง (Samples) ครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 32 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected) โดยเลือกครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานวิชาการของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี โรงเรียนละ 1 คน
เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย
1. คู่มือการนิเทศเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
2.แบบประเมินสมรรถนะการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
3.แบบประเมินความพึงพอใจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรีต่อการใช้กระบวนการนิเทศเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community)
ผลการวิจัย พบว่า 1. คู่มือการนิเทศเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี มีค่าประสิทธิภาพเชิงเหตุผล (CVR) เท่ากับ 1.00
2. สมรรถนะการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี หลังใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพิ่มขึ้นกว่าก่อนใช้ โดยมีการพัฒนาจากระดับน้อยที่สุด (Beginner) เป็นระดับมาก (Advance)
3. ความพึงพอใจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรีต่อการใช้กระบวนการนิเทศเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community) มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การนิเทศ , กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE , สมรรถนะ , การขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ