หัวข้องานวิจัย รูปแบบกการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) โรงเรียนดงรักวิทยา
ผู้วิจัย นางรุจนี พันธ์ศิริ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนดงรักวิทยา
ปีการศึกษา 2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนดงรักวิทยา 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) โรงเรียนดงรักวิทยา 3) เพื่อใช้รูปแบบและศึกษาสภาพปัญหาการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) โรงเรียนดงรักวิทยา และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) โรงเรียน ดงรักวิทยา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนดงรักวิทยา จากการสนทนากลุ่มของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 21 คน พบว่า การจัดการเรียนรู้ของครูส่วนใหญ่ยังเป็นลักษณะบรรยายเป็นหลัก ครูผู้สอนขาดเทคนิค และวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา ทำให้ผู้เรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง ซึ่งผู้ร่วมสนทนาทุกคนมองว่า ครูควรได้รับการส่งเสริม และพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยครูควรใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
2. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) โรงเรียนดงรักวิทยา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน พบว่า
2.1 ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีรายข้อ มีค่า 1.00 ทุกข้อ และค่าดัชนีความสอดคล้องความเป็นไปได้ มีค่าระหว่าง 0.80 1.00
2.2 ความสอดคล้องของรูปแบบ ผลการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่า 1.00 ทุกข้อ
2.3 ความเหมาะสมของรูปแบบ ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง รายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 1.00
2.4 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้ ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 1.00
3. การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) โรงเรียนดงรักวิทยา
3.1 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) ผู้เข้าประชุมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการประชุมสัมมนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
3.2 ผลการประเมินความสามารถในการดำเนินงานตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) พบว่า ค่าเฉลี่ย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60)
3.3 ประเมินความคิดเห็นของ ครู และนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) พบว่า ค่าเฉลี่ย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60)
3.4 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.60)
4. การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม พบว่า มาตรฐานรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61)