เรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน
ผู้วิจัย นางชญาณิศ สุใจยา
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน เป็นการวิจัยและพัฒนา (Resench Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาการรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทาง การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน 3) เพื่อทดลองการใช้รูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน กรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กำหนดขั้นตอนการวิจัยและพัฒนารูปแบบการนิเทศ ดังนี้ คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) : ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา(Development: D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D and D) : รูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) : การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ครูในโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน จำนวน 22 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวิเคราะห์แบบทดสอบที่ใช้ศึกษาความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ ที่ใช้ศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเชิงบูรณาการ 3) แบบประเมินความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครู และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ ในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน ปรากฏผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน โดยการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ เกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน ควรมีแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันและมีการศึกษาอย่างแท้จริงเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ และการศึกษาความต้องการของครูในโรงเรียนเกี่ยวกับการนิเทศภายใน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่นำไปสู่การกำหนดทางเลือกในการปฏิบัติ ผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของคณะครูเพื่อให้เกิดการพัฒนางานนิเทศภายใน นอกจากนี้การนำข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ มาใช้วางแผนการนิเทศภายใน เป็นสิ่งที่โรงเรียนควรปฏิบัติ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการนิเทศภายใน โดยให้คณะครูได้มีส่วนร่วมในการวางแผน ในส่วนของการสรุปผลการวางแผนและการกำหนดทางเลือกในการนิเทศภายใน ควรมีการสรุปผลทุกครั้งที่มีการวางแผนและมีการจดบันทึกไว้เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการวางแผนครั้งต่อไป อีกทั้งครูควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการนิเทศภายใน เพื่อให้การปฏิบัติงานนิเทศภายในเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ คณะครูสามารถทำได้หลากหลายวิธี ที่จะทำให้คณะครูเกิดการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจมากขึ้น สำหรับการปฏิบัติงานนิเทศภายในควรปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นไปตามระบบและกระบวนการนิเทศภายใน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการส่งเสริมการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับการปฏิบัติงานนิเทศภายในโดยมีบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย จะทำให้คณะครูมีความสุขในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้นและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเต็มความสามารถ และทำให้การปฏิบัติงานยังคงเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ด้วย ในส่วนการประเมินผลการนิเทศภายในโดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น เป็นการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่มีความถูกต้อง เพราะข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือในการประเมินผล เป็นข้อมูลที่มาจากความเป็นจริง สามารถนำผลที่ได้จากการประเมินมาแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาการปฏิบัติงานนิเทศภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของครูเกี่ยวกับการนิเทศภายใน ควรรับฟังความต้องการของครูมากขึ้น ควรนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนและให้คณะครูได้มีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อให้เกิดความชัดเจนและครอบคลุมในการปฏิบัติงาน ควรมีการสรุปผลและจดบันทึกทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนครั้งต่อไป ควรมีการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการนิเทศภายในให้แก่คณะครูด้วยวิธีการที่หลากหลาย ควรมีการสร้างความตระหนักในการปฏิบัติตามขั้นตอน ควรเน้นการสร้างบรรยากาศให้มีความยุติธรรม ควรนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาใช้ในการประเมินผล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานนิเทศภายในให้ดีขึ้นกว่าเดิม และ ควรมีการรายงานผลการประเมินตามสภาพที่เป็นจริง
2. ผลการออกแบบและพัฒนาการรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ตามแนวคิดของ ดร. สงัด อุทรานันท์ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน มีองค์ประกอบได้แก่หลักการ คือ การนิเทศการสอนเน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบ สัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของรูด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะที่สำคัญที่ต้องการพัฒนา โดยใช้วิธีการนิเทศ เหมาะสมกับครูแต่ละคน เพื่อให้การนิเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการนิเทศของผู้นิเทศและส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศ โรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน และกระบวนการในการนิเทศ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วางแผนการนิเทศ (Planning-P) ขั้นตอนที่ 2 ให้ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน (Informing-I) ขั้นตอนที่ 3 ลงมือปฏิบัติงาน (Doing-D) ได้แก่ 3.1 การปฏิบัติงานของผู้รับนิเทศเป็นขั้นที่ผู้รับการนิเทศลงมือปฏิบัติงานตามความรู้ความสามารถที่ได้รับมาจากดำเนินการในขั้นที่ 2 3.2 การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ ขั้นนี้ผู้ให้การนิเทศจะทำการนิเทศและควบคุมคุณภาพให้งานสำเร็จออกมาทันตามกำหนดเวลาและมีคุณภาพสูง 3.3 การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ ผู้บริหารก็จะให้บริการสนับสนุนในเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างได้ผลขั้นตอนที่ 4 สร้างเสริมกำลังใจ (Reinforcing-R) ขั้นตอนที่ 5 ประเมินการนิเทศ (Evaluating-E) โดยมีการกำกับ ติดตาม (Monitoring) อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินการนิเทศเกิดประสิทธิภาพ และองค์ประกอบด้านเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าเท่ากับ 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) มีกระบวนการที่เป็นระบบ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
3. ผลการทดลองการใช้รูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน สรุปได้ดังนี้
3.1 สมรรถภาพในการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ของครูผู้นิเทศ หลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) พบว่า ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศอยู่ในระดับสูงมาก
3.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้นิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ครูผู้นิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ
3.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ
3.4 สมรรถภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า ครูผู้รับการนิเทศมีสมรรถภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับสูงมาก
4. ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน พบว่า ครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ ลำดับที่ 1 ด้านกระบวนการนำรูปแบบไปใช้ ลำดับที่ 2 ด้านผลของการใช้รูปแบบ และลำดับที่ 3 ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่มพบว่าองค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน กระบวนการนิเทศมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันในแต่ละขั้นตอน ถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มากในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาส่วนเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้นั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการนำรูปแบบการนิเทศไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเงื่อนไขของครูที่มีความมุ่งมั่น จริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบในการทำงานและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก รวมทั้งผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู เป็นการส่งเสริมให้ครูเกิดการพัฒนาทั้งด้านการนิเทศและการทำวิจัยในชั้นเรียน
4.1 คุณภาพเด็กปฐมวัยที่เกิดจากการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า
4.1.1 เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.28
4.1.2 เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.75
4.1.3 เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.67
4.1.4 เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.19
4.2 คุณภาพเด็กปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศ หมายถึง คุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยหลังจาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า
4.2.1 สถานศึกษามีผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับยอดเยี่ยม
ทั้ง 3 มาตรฐาน
4.2.2 สถานศึกษาได้รับรางวัลกิจกรรมทางวิชาการในระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ
จากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน