ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นาแห่งน้ำใจและความหวัง
โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางสาววาสนา ศรีเปาระยะ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย
หน่วยงานที่สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ปีการศึกษา 2564
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของการประเมินโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนว
พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นาแห่งน้ำใจและความหวัง โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย ปีการศึกษา 2564 ผู้ประเมินได้ใช้วิธีการประเมินตามแนวคิดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) นำมาใช้ในการประเมิน ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหาร) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 41 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 39 คน รวมทั้งสิ้น 95 คน ของโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหาร) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 20 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) รวมทั้งสิ้น 55 คน ของโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ผู้ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า 1) ผลการประเมินด้านบริบทของการประเมินโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.78 , S.D. = 0.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การประเมินโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังและตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีการดำเนินการตามกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 3 รายการ คือ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ส่งผลให้เกิดการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน , โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยดำเนินการตามโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังและกิจกรรมตรงตามสภาพและบริบทของตนเอง , โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีการกำหนดกิจกรรมตามโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังสอดคล้องกับความต้องการของครูและผู้ปกครองนักเรียน ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง มีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของการประเมินโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.56 , S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มี 6 รายข้อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากันและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีการเตรียมความพร้อมของบุคลากรก่อนการจัดกิจกรรมห้องเรียนอารยเกษตรตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ , โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีบุคลากรที่สามารถปฏิบัติตนในกิจกรรมห้องเรียนอารยเกษตรตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างเหมาะสม , โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยใช้วัสดุ อุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด,โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยกำหนดสถานที่สําหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง มีความเหมาะสมและเพียงพอ ,โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมในโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ให้ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยและผู้เกี่ยวข้องรับทราบ และ หลักสูตรโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการจัดการเรียนรู้โดยสอดแทรกหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักกสิกรรมธรรมชาติ และเกษตรทฤษฎีใหม่สู่โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 2 รายการ คือ โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีผู้รับผิดชอบโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง และการขับเคลื่อนกิจกรรมที่มีความรู้ ความสามารถอย่างเหมาะสม และ โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยกำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง มีความเหมาะสม เพียงพอ ส่วน โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังอย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการของการประเมินโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.74 , S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มี 2 รายข้อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากันและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และ กิจกรรมในโครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 4 รายการ คือ โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีการประสานความส่วนร่วมกันของทุกฝ่ายที่รับผิดชอบและหน่วยงานภายนอก ,รูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของโรงเรียน ,โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีการกำกับ ติดตาม และการนิเทศการดำเนินงานทั้งก่อนและหลังการดำเนินงานของโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ส่วน การให้ความรู้แก่ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดําเนินการโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 4) ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ของโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย ได้แก่การประเมิน ผลการดำเนินกิจกรรมของนักเรียนต่อโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย และประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งมีผลการประเมินดังนี้ 4.1) ผลการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของนักเรียนต่อโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ของโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.48 , S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการดําเนินกิจกรรมห้องเรียนโรงปุ๋ยชีวภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาผลการดําเนินกิจกรรมห้องเรียนอุทยานสวนผักรักษ์สมุนไพร และ ผลการดำเนินกิจกรรมห้องเรียนแปลงนาสาธิต ส่วนผลการดําเนินกิจกรรมห้องเรียนอุทยานไม้ดอกบริหารแมลง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 4.2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ของโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.72 , S.D. = 0.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มี 3 รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากันและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีการประชาสัมพันธ์โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ,การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงโดยมีครู ผู้ปกครอง เป็นแบบอย่าง และ การปฏิบัติกิจกรรมยึดความปลอดภัยเป็นหลัก รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 2 รายการ คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง และ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอ ส่วน มีการวางแผนในการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
สรุปผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ผ่านเกณฑ์ประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
จากผลโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย ปีการศึกษา 2564 ควรดำเนินการต่อไปโดยนำผลการประเมินไปปรับใช้และสรุปเป็นข้อเสนอแนะได้ดังนี้
1. จากผลการประเมิน ด้านบริบท พบว่าวัตถุประสงค์ของโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังมีความชัดเจน สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ดังนั้นโรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยควรทบทวนและวางแผนในการกำหนดวัตถุประสงค์ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้ชัดเจนมากขึ้น
2. จากผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยมีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนว
พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังอย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ดังนั้น โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อยควรร่วมกันวางแผนจัดทำร่างงบประมาณ กำหนดความต้องการความจำเป็นของกิจกรรมในโครงการโดยมีทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมหารือและสรุปร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดความคุ้มค่ามีประสิทธิภาพบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
3. จากผลการประเมิน ด้านกระบวนการ พบว่า การให้ความรู้แก่ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดําเนินการโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ดังนั้น โรงเรียนควรส่งเสริมให้บุคลากร ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้อง ศึกษาเอกสารตำรา เข้าร่วมอบรม ตลอดจนการศึกษาดูงาน ร่วมกับโครงการอารยเกษตรฯ ที่หน่วยงาน อื่น ๆ จัดขึ้น
4. จากผลการประเมิน ด้านผลผลิต ผลการดำเนินกิจกรรมของนักเรียนต่อโครงการ พบว่า ผลการผลการดำเนินกิจกรรมห้องเรียนอุทยานไม้ดอกบริหารแมลง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ดังนั้น ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ควรนำรายละเอียดของกิจกรรมในห้องเรียนอุทยานไม้ดอกบริหารแมลงมาทบทวน และ วางแผนนำแนวทางที่กระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้และมีทักษะกับกิจกรรมของห้องเรียนอุทยานไม้ดอกบริหารแมลงต่อไป
5.จากผลการประเมิน ด้านผลผลิต การประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย พบว่า มีการวางแผนในการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ดังนั้นโรงเรียนควรปรับแผนใหม่ให้สอดคล้องต่อความจำเป็น
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1.ควรศึกษาโครงการที่เกี่ยวข้องกับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ และโคก หนอง นา
2.ควรมีการประเมินผลการเรียนรู้ และสมรรถนะที่คาดหวังของผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมผ่านห้องเรียนอารยเกษตร และการจัดการเรียนรู้วิชาอารยเกษตรอย่างเป็น รูปธรรม
3.ควรมีการประเมินปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จเชิงประจักษ์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาอารยเกษตร
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ,อารยเกษตร,เศรษฐกิจพอเพียง, โคก, หนอง,นา,โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง, โรงเรียนบ้านทุ่งส้มป่อย