ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model โรงเรียนไทรน้อย
ผู้ศึกษา นายสันติสุข สุขสมัย
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนไทรน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model โรงเรียนไทรน้อย ตามองค์ประกอบ 4 ด้านดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา จำนวน 749 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน
5 คน ครู จำนวน 69 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 331 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model โรงเรียนไทรน้อย มีดังนี้
1. ด้านบริบท ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านบริบทโดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.05) ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.17) ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.69, S.D. = 0.14) และตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.20)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.05) ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.24) ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.21) และตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.24)
3. ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D. = 0.09) ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.17) ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.65, S.D. = 0.19) ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.18) และตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.14)
4. ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.07) ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวม
มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.08) และตามความคิดเห็นของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.06)
 
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model โรงเรียนไทรน้อย ฉบับนี้ สำเร็จได้ด้วยดีเพราะได้รับความกรุณาอย่างสูงจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย
ขอกราบขอบพระคุณ นายปิติ ยางกลาง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนไทรน้อย ผศ.จ่าสิบตรีเฉลิมพล มูลมงคลผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ดร.สมชัย
สินแท้ ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเตรียมอุมศึกษาพัฒนาการ ปราณบุรี นางสาวชญานิศ ธนเดชภูมิสิทธ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาวิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม นายธานัท เดชะศาศวัต รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบางบัวทอง นายปวริศร์ โตน้ำ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมที่กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบเครื่องมือและช่วยแนะนำแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ อย่างดียิ่ง
ขอขอบคุณคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู บุคลากรทุกฝ่าย นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนไทรน้อย หัวหน้างานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและทีมงานกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือในการศึกษาครั้งนี้เป็นอย่างดี
คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาครั้งนี้ ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดามารดา
ผู้มีพระคุณตลอดจนบูรพาจารย์ทุกท่าน
นายสันติสุข สุขสมัย