บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทับเดื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทับเดื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน บ้านทับเดื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 คน ครู จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้บริหารและผู้แทนครู) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 36 คนผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 36 คน การประเมินครั้งนี้ ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model) ของ Stuffle Beam เครื่องมือที่ใช้ ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินด้านบริบท โครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทับเดื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก
การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทับเดื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก
การประเมินด้านกระบวนการ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทับเดื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก
การประเมินด้านผลผลิต โครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทับเดื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1. ควรกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ เพื่อเป็นปัจหจัยสำคัญของความสำเร็จในการดำเนินงานของโครงการอื่น ๆ ต่อไป
2. ควรมีการกระจายภาระงานให้แก่บุคลากรในสถานศึกษาอย่างทั่วถึง เน้นย้ำ ครูผู้สอนให้ความสำคัญกับการอบรมสั่งสอนคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการสอนตามเนื้อหาวิชา
3. ควรใช้รูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย จนทำให้นักเรียนไม่เข้าร่วมในกิจกรรมส่งเสริมบทบาทในการเสนอ/จัดทำโครงการและกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของนักเรียน
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินพฤติกรรม คุณลักษณะของนักเรียนตามมาตรฐานการศึกษาและ ตัวบ่งชี้อื่น ๆ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เช่นเดียวกับการประเมินในครั้งนี้
2. ควรมีการประเมินการบริหารตามแนวการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้แนวทางของ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป