หัวข้อรายงาน การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตะเคียนงาม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
ชื่อผู้รายงานการประเมิน นายคุณภัทร์ ธัญญเจริญ
ปีที่รายงานการประเมิน 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตะเคียนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการดำเนินงาน (Process) และผลผลิต (Product) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตะเคียนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตะเคียนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 แนวคิดในการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองขอนเทพพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ประยุกต์แนวคิดโดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Stutflebeam, D.L.) ประชากรประกอบด้วย ครู จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 96 คน และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 96 คน รวมทั้งสิ้น 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการประเมินโครงการในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน บ้านตะเคียนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 5 ชุด โดยมีค่าความเชื่อมั่นดังนี้ แบบสอบถามชุดที่ 1 มีค่าความเชื่อมั่นด้านสภาวะแวดล้อม 0.922 แบบสอบถามชุดที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่นด้านด้านปัจจัยนำเข้า 0.862 แบบสอบถามชุดที่ 3 มีค่าความเชื่อมั่นด้านกระบวนการดำเนินงาน 0.917 แบบสอบถามชุดที่ 4 มีค่าความเชื่อมั่นด้านผลผลิต 0.913 และแบบสอบถามชุดที่ 5 มีค่าความเชื่อมั่นด้านความพึงพอใจ 0.959 การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (x̄)
ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตะเคียนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ปรากฏดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินงาน(Process Evaluation) ผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต (Product Evaluation) ผลการประเมินการดำเนินการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
5. ความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน บ้านตะเคียนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก