ก
ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก ตามทฤษฎีโซเชียล
คอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
และมีจิตสํานึกรักบ้านเกิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางอรษา ภานุรักษ์ โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม อําเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
ปีพ.ศ. 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ บูรณาการแบบสอดแทรก ตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณ และมีจิตสํานึกรักบ้านเกิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบ
การจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรก ตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริม
ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และมีจิตสํานึกรักบ้านเกิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 53)ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียล
คอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและมีจิตสํานึกรักบ้านเกิดของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5และ4)ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วย
รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์กลุ่มผู้ให้ข้อมลูคือ
ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยโรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จํานวน 4คน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/1
โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2564จํานวน 27คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster
RandomSampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวิเคราะห์เอกสาร
แบบการสนทนากลุ่ม รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ แผนการจัดการเรียนรู้จํานวน 7แผน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณวิชาภาษาไทย
และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัด
การเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย(X )
สว่ น เบยี่ งเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าทแีบบไม่อิสระ (t-test แบบ dependent-samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
(ContentAnalysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการ
แบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์มีประเด็นที่ค้นพบ ดังนี้ 1.1 การอ่านที่ดีนั้นเกิดจากทักษะการฝึกฝนและการเรียนรู้การอ่านเป็นการสื่อสารระหว่าง
ผู้ส่งสารด้วยการเขียนกับผู้อ่าน โดยอาศัยตัวหนังสือเป็นสื่อ ผู้อ่านจึงเกิดความรู้ความคิดและ
ประสบการณ์สามารถนําความรู้ความคิดและประสบการณ์เหล่านั้นไปใช้ในชีวิตประจําวันได้แต่ผลจาก
การอ่านที่ผู้อ่านได้รับนั้นย่อมได้รับผลแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการมีความรู้เกี่ยวกับการอ่านจะช่วยให้
เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องหาวิธีการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการอ่านอย่างมี วิจารณญาณ และมีทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ตรงตามความมุ่งหมายของหลักสูตร
และนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลข
1.2 ผลจากจากการสนทนากลุ่มกับครูผู้สอนวิชาภาษาไทย โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม
จํานวน 4 คน สามารถสรุป สาระสําคัญได้2 ประการ ดังนี้ 1.2.1 สาเหตุที่ทําให้ผู้เรียนขาดทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เนื่องมาจากการ
ที่ผู้สอนยังใช้วิธีสอนที่ไม่เหมาะสม ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับต่ํา ผู้เรียนไม่เห็นความสําคัญของ
ภาษาไทยเพราะคิดว่าเป็นภาษาประจําชาติของตนเอง
1.2.2 การจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ สามารถช่วยพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณในภาษาไทย เพราะเนื้อหาในการเรียนมีความ
สอดคล้องเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้จากกลุ่มวิชาอื่น ๆ และเชื่อมโยงกับชีวิตจริงของผู้เรียนช่วยให้ ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ในลักษณะองค์รวมอีก ทั้งกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจะมุ่งเน้น
การเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน ทําให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ของตนเองได้จากการมี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีครูเป็นผู้อํานวย ความสะดวกใน
การเรียนรู้ทําให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและมีคุณค่า ผู้เรียนสามารถนําเนื้อหาและทักษะที่เรียนไป
ใช้ในชีวิตประจําวันได้ 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และมีจิตสํานึกรักบ้านเกิด ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ELSCRE Model) มีความสอดคล้องกันในทุกองค์ประกอบและมีความเหมาะสมอยู่ ในระดับมาก โดยมีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์กระบวนการการเรียนการสอน สาระหลัก
สิ่งที่ส่งเสริม ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน โดยมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน
6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิมและเร้าความสนใจ (Eliciting and Engagement: E)
2) ขั้นเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Learning and Sharing: L) 3) ขั้นลงมือปฏิบัติการอ่านและ
ทําความเข้าใจ (Reading Action and Understand: S) 4) ขั้นสรุปและสร้างองค์ความรู้(Concluding
Ideas: C) 5) ขั้นสะท้อนผลการเรียนรู้(Reflecting: R) 6) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้(Evaluation: E)
3. ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับ
การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัค
ติวิสต์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม มีความพึงพอใจต่อการจัด
การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ โดยรวมอยู่ในระดับมา