ผู้รายงาน นายสุวนิตย์ จิตต์สำรวย ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน่วยงานที่สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2564
การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของการดำเนินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ประเมินได้ใช้วิธีการประเมินตามแนวคิดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) นำมาใช้ในการประเมินกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 31 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 200 คน รวมทั้งสิ้น 231 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient)ของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.95 ผู้ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า (1) การประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า โรงเรียนมีแผนการพัฒนาที่ชัดเจนในการดำเนินงานโครงการและสามารถปฏิบัติได้จริง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติได้และ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลสอดคล้องกับการจัดกิจกรรม ส่วนระยะเวลาในการดำเนินงานมีความเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่น ๆ (2) การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่าบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา มีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอและมีคุณภาพในการดำเนินโครงการและโรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมในโครงการให้ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
และผู้เกี่ยวข้องรับทราบ ส่วนงบประมาณในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่น ๆ (3) การประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า ดำเนินกิจกรรมโครงการตามระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินการที่กำหนดไว้ในโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษาในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและมีการรายงานผลการประเมินโครงการให้บุคลากรในสถานศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ส่วนการดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไป
ตามแผนและปฏิทินที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่น ๆ (4) การประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช พบว่า (4.1) นักเรียนร้อยละ 90 ได้เข้าร่วมแข่งขันในระดับอำเภอขึ้นไป (4.2) การประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนมีพัฒนาทักษะทางด้านกีฬาที่สูงขึ้น มีค่าเฉลี่ยสูง
ที่สุด รองลงมา กิจกรรม โครงการส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าร่วมแข่งขันระดับอำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ และนานาชาติ นักเรียนมีความสนใจและพัฒนาความสามารถด้านกีฬาอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาพความสำเร็จของผู้บริหาร ครูและนักเรียนจากการดำเนินตามโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่น ๆ (4.3) การประเมินความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า ภาพรวมของการจัดกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา ส่วนความเหมาะสมของระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่น ๆ
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, ส่งเสริม, ความเป็นเลิศทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา