ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของ
นักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นายจรัส สีสายทอง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่ามะปราง
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง 2) ทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน 3) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง และ 4) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยประชากร และกลุ่มตัวอย่างดังนี้ 1) ประชากรครู จำนวน 6 คน 2) กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 24 คน 3) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา และผู้แทนครู จำนวน 7 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของ ลิเคิร์ท (Likert) ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .92-.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม โครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (=3.79, = 0.36) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ผ่านเกณฑ์การประเมินและ รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.63, S.D. = 0.52) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า โครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.69, = 0.47) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ การประเมินเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.71, S.D. = 0.45) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือครูมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (= 3.69, =0.42) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.68, S.D. = 0.46) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการ
4.1 ผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมสูงสุด ( = 3.72, S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( = 3.72, S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.65, = 0.47) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
4.2 ผลผลิตเกี่ยวกับทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.61, S.D. = 0.17) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (= 3.58, = 0.14) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลผลิตเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.33, S.D. = 0.40) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู ( = 3.73, = 0.39) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สำหรับกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.68 S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ การประเมินเช่นกัน
4.4 ผลผลิตเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =3.69, S.D.= 0.46) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.68, S.D. = 0.45) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สำหรับ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.58, S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
จากการรายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ปีการศึกษา 2564 มีข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการรายงานการประเมินโครงการไปใช้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
1. การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน ให้ประสบผลสำเร็จและเกิดความยั่งยืน สถานศึกษาควรมีการสร้างความตระหนักเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง เช่น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนและควรใช้หลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาครูให้ใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนา ให้ค้นหารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการพัฒนาเน้นทักษะวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ตามศักยภาพของผู้เรียนก่อเกิดผลสัมฤทธิ์มากมายเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชนเป็นแบบอย่างแก่หน่วยงานอื่นได้
2. หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โรงเรียนปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และเป็นโรงเรียนรักการอ่าน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น มีทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมกับวัย อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ครูผู้สอนเป็นครูมืออาชีพในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีนวัตกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ตรงตามความจำเป็นของสังคมปัจจุบัน
3. ผู้บริหารเป็นที่ปรึกษา หรือให้คำแนะนำให้ความรู้ตลอดจนส่งเสริมในการจัดกิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคล มีความยุติธรรม มีความเป็นกลางเป็นที่ยอมรับตลอดการดำเนินโครงการ มีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือและการประเมินผล เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการทั้งเป็นกลุ่มบริหารหัวหน้ากลุ่มสาระและเป็นรายบุคคล แบบกัลยาณมิตรโดยเน้นการมีส่วนร่วม
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนและทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3. ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)