ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง ด้านความรับผิดชอบ ประหยัดและออมของนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองกุย ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางพัธยา ชิณวงศ์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง ด้านความรับผิดชอบ ประหยัดและออมของนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองกุย ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม มาใช้ในการประเมิน ซึ่งใช้วิธีการประเมินสองลักษณะ ได้แก่การประเมินโดยใช้แบบสอบถามความเหมาะสม และประเมินตามสภาพจริง โดยใช้แบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย นักเรียนกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดย (Purposive Sampling) ใช้นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ทุกคนได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2564 จำนวน 24 คน เนื่องจากนักเรียนชั้นดังกล่าวมีความสามารถในการอ่านการสื่อความหมายจากข้อคำถามของแบบถามได้ดีกว่าชั้นอื่น ๆ ครูศึกษาจากประชากรครูโรงเรียนบ้านคลองกุย ปีการศึกษา 2564 จำนวน 3 คน ผู้ปกครองกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 24 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครูได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เป็นการบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง จำนวน 1 ฉบับ เครื่องมือทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.91 - 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการเสริมสร้างความมีวินัย ในตนเอง ด้านความรับผิดชอบ ประหยัดและออมของนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองกุย ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = .43) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ครู มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55, = .44) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง ด้านความรับผิดชอบ ประหยัดและออมของนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองกุย ปีการศึกษา 2564ความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง ด้านความรับผิดชอบ ประหยัดและออมของนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองกุย ปีการศึกษา 2564ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41 S.D. = .67) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.17, S.D. = .66) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด (= 4.01, = .71) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
1. ด้านผลผลิต (Product)ในการดำเนินโครงการ
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับคุณภาพ ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง ด้านความรับผิดชอบ ประหยัดและออมของนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองกุย ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ครู มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (= 3.93, = .69) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ ผู้ปกครอง การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 3.91, S.D. = .79) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ( = 3.90, S.D. = .77) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีวินัยในตนเอง ด้านความรับผิดชอบ ประหยัดและออมของนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองกุย ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ผู้ปกครองมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 4.05 S.D. = .74) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ นักเรียน มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ( = 4.03, S.D. = .75) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (= 3.90, = .69) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของโรงเรียนบ้านคลองกุย ปีการศึกษา 2564 ผลการประเมินภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 93.18 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนิน โครงการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง ด้านความรับผิดชอบ ประหยัดและออมของนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองกุย ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ ในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = .49) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ นักเรียน มีความพึงพอใจ ในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D. = .55) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ต่ำสุด ( = 4.01,  = .59) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน