ชื่อผลงาน การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ โรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ชื่อผู้ประเมิน จุฑารัตน์ เรืองเวช
หน่วยงานที่สังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการโรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับนโยบายทางการศึกษา และความต้องการจำเป็นและความคาดหวังต่อโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ และการบริหารจัดการ 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ การวางแผนการดำเนินกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดไว้ การกำกับติดตาม ประเมินผลกิจกรรม การประชุม สรุปผล เพื่อปรับปรุงพัฒนา 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในด้านค่านิยมหลัก 12 ประการและด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล ในปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 503 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน(Krejcie & Morgan) ซึ่งได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 217 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน 2) รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 2 คน 3) ครู จำนวน 21 คน 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 130 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 50 คน และ5) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ 1) แบบสอบถามประเมินประเด็นบริบทก่อนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ 2) แบบสอบถามประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า 3) แบบสอบถามประเมินประเด็นกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมตามประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องด้านผลผลิตเกี่ยวกับค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นทุกตัวชี้วัดและภาพรวมของโครงการดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการ กับนโยบายทางการศึกษา และความต้องการจำเป็นและความคาดหวังต่อโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัดโดยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ และการบริหารจัดการ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัดโดยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการของโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ การวางแผนการดำเนินกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดไว้ การกำกับติดตาม ประเมินผลกิจกรรม และการประชุม สรุปผล เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ตัวชี้วัด และระดับมาก 1 ตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดเกี่ยวกับค่านิยมหลักทั้ง 12 ตัวชี้วัด พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยอยู่ในระดับมากที่สุด 8 ตัวชี้วัด และระดับมาก 4 ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยอยู่ระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
ดังนั้น การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ ของโรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญ ของการให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ