ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
โรงเรียนบ้านเหล่ากกโพธิ์กกเค็ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี
เขต 2 โดยใช้รูปแบบ CIPPiest (CIPPiest Model)
ผู้รายงาน นายคทาวุฒิ บุตรลพ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านเหล่ากกโพธิ์กกเค็ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
อุดรธานี เขต 2
ปี พ.ศ. 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านเหล่ากกโพธิ์กกเค็ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายโยงความรู้ ที่ได้จากโครงการ ผู้รายงานใช้วิธีการประเมินของ Danial L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPiest (CIPPiest Model) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถามความคิดเห็นจาก ครูและบุคลากร กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ปีการศึกษา 2564 จำนวน 49 คน จำแนกเป็นครูและบุคลากร จำนวน 7 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 35 คน โดยใช้ประชากรเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น แบ่งเป็น 4 ชุด ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น จำนวน 79 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.0 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ 0.51 ถึง 0.89 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 - 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. บริบทของโครงการ (Context) มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 8 ข้อ และระดับมาก 4 ข้อ ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ โครงการมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นในการพัฒนาความพร้อมของเด็กปฐมวัย ส่วนข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย ต่ำที่สุด คือ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และระดับมาก 12 ข้อ ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือมีแผนการดำเนินงานตามโครงการอย่างชัดเจน ส่วนข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ
3. กระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process) มีความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ และระดับมาก 8 ข้อ ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง ส่วนข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือมีการกำหนดขั้นตอน รายละเอียดและวิธีดำเนินโครงการอย่าง ชัดเจนและเหมาะสม
4. ผลผลิตจากการดำเนินงานโครงการ (Product) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้อย่างมีคุณภาพ รองลงมา คือผู้เรียนมีความพร้อมด้านการเคลื่อนไหวและการรับรู้ของประสาทสัมผัสทั้งห้า ส่วนด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือเด็กสื่อสารความคิดต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้เรียนรู้ ออกมาเป็นถ้อยคำให้ผู้อื่นเข้าใจได้
5. ผลกระทบ (impact) จากการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านเหล่ากกโพธิ์กกเค็ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ตราสัญลักษณ์พระราชทานที่ได้รับเป็นหลักประกนคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน รองลงมา คือ โรงเรียนมีเครือข่ายร่วมพัฒนาระหว่างโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการด้วยกัน ส่วนด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้ปกครองภูมิใจในตัวเด็ก
6. ประสิทธิผล (Effectiveness) จากการดำเนินงานตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านเหล่ากกโพธิ์กกเค็ง สำนักงานเชตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การดำเนินงานโครงการมีประโยชน์ต่อการพัฒนาความพร้อมของเด็กปฐมวัยและคุณภาพการศึกษา และการดำเนินงานโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด รองลงมาได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และผู้เกี่ยวข้องกับสถานศึกษามีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ส่วนด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่การดำเนินงานโครงการมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าและการดำเนินงานโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
7. ความยั่งยืน (Sustainability) ที่ได้รับจากโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านเหล่ากกโพธิ์กกเค็ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติตนให้มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน รองลงมา ได้แก่ สามารถนำความรู้ที่ได้จากโครงการไปใช้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ส่วนข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและครอบครัว
8. การถ่ายโยงความรู้ (Transportability Transportability) ที่ได้รับจากโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โรงเรียนบ้านเหล่ากกโพธิ์กกเค็ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ มีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานโดยใช้ช่องทางและวิธีการที่หลากหลาย รองลงมา ได้แก่ สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย สามารถถ่ายทอดความรู้ แนวคิด เกิดประโยชน์กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาศึกษาดูงาน ส่วนข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ การดำเนินงานโครงการสามารถเป็นแบบอย่างในการขยายผลสู่สถานศึกษาอื่น ๆ ได้