บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการและผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 3) เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังสิ้นสุดโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ 1) ครูและบุคลากร ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ปรึกษา ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่ธุรการ นักการภารโรง ยาม ลูกจ้าง ของโรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 125 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง 2) กลุ่มตัวอย่างของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 ปีการศึกษา 2564 สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางกำหนดสัดส่วนขนาดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ของ Krejcie และ Morgan สุ่มจากนักเรียนทั้งหมด 1,807 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงเลือกจากผู้ปกครองของนักเรียนที่สุ่มมาตามข้อ 2 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 คน จากผู้ปกครองทั้งหมด 1,807 คน รวมครูและบุคลากร นักเรียนและผู้ปกครองที่สุ่มได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 759 คน จากประชากรทั้งหมด 3,739 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น (Questionnaire) เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (f), ค่าร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย ( ), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีผลประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นอยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ด้านสภาวะแวดล้อม และด้านกระบวนการ ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการและผลผลิต ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564
ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อและเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมา คือ การกำหนดเป้าหมาย วิธีการดำเนินการ และระยะเวลาดำเนินการมีความเหมาะสม และปฏิบัติจริงได้ กิจกรรมมีความเหมาะสมสอดคล้องกับปัญหา ของโรงเรียนและความต้องการของชุมชน โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 สามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ การจัดบรรยากาศในการดำเนินงานเหมาะสม และสอดคล้องกับการดำเนินโครงการ และการประสานงานระหว่างบุคลากรทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ตามลำดับ
ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อและเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุนโครงการอย่างเหมาะสมทั้งนโยบาย และงบประมาณที่เพียงพอ มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมา คือ จำนวนบุคลากร ที่ร่วมดำเนินการโครงการ มีความเหมาะสม และเพียงพอ มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินโครงการอย่างเพียงพอ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์กร ชุมชน บุคคลหรือหน่วยงานภายนอก มีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน สภาพโรงเรียนสะอาด ปลอดภัย สงบ ร่มรื่น เรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ มีป้ายนิเทศ ป้ายคติธรรม คำขวัญ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยทั่วไปในบริเวณโรงเรียน และมีเครือข่ายความร่วมมือดูแลช่วยเหลือนักเรียนบุคลากร ทั้งภายใน และหน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลภายนอก ตามลำดับ
ด้านกระบวนการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อและเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมา คือ การจัดทำกรอบแนวคิดและกำหนดจุดพัฒนาตามสภาพปัญหาและความต้องการ การวิเคราะห์และนำผลการประเมินมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง การวางแผนดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 การปฏิบัติงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 การนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินโครงการตามขั้นตอนที่กำหนดทุกระยะ การดำเนินกิจกรรมที่กำหนดในโครงการตามขั้นตอนทุกกิจกรรม และการประเมินผลการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 ตามลำดับ
ด้านผลผลิต พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อและเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านประสิทธิภาพของการบริหารกระบวนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหา การส่งเสริม และพัฒนานักเรียน ด้านคุณภาพการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการเฉพาะ และการส่งเสริมความเป็นเลิศ ด้านประสิทธิภาพการใช้เครือข่ายความร่วมมือดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านคุณภาพการดูแลช่วยเหลือระเบียบวินัยพฤติกรรม และส่งเสริมความประพฤตินักเรียน ด้านประสิทธิภาพความพร้อมการป้องกันและเฝ้าระวัง ด้านคุณภาพการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทางการเรียนรู้ และด้านคุณภาพ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนทางเศรษฐกิจการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังสิ้นสุดโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 พบว่า ด้านประสิทธิภาพของการบริหารกระบวนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านประสิทธิภาพความพร้อมการป้องกันและเฝ้าระวัง ด้านประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา การส่งเสริม และพัฒนานักเรียน ด้านประสิทธิภาพการใช้เครือข่ายความร่วมมือดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านคุณภาพการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทางเศรษฐกิจ การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ ด้านคุณภาพการดูแลช่วยเหลือระเบียบวินัยพฤติกรรมและส่งเสริมความประพฤตินักเรียน ด้านคุณภาพการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทางการเรียนรู้ และด้านคุณภาพการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการเฉพาะและการส่งเสริมความเป็นเลิศ อยู่ในระดับมากทุกด้าน แสดงให้เห็นว่า การดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักรียน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 ดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ครอบคลุมเป้าหมาย จัดกิจกรรมได้ครบตามที่กำหนดไว้ มีผลสำเร็จเป็นไปตามค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด รวมถึงการใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน การดำเนินโครงการช่วยให้มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ ทั้งผลงานที่เกิดกับนักเรียน ผลงานที่เกิดกับครูและบุคลากร และผลงานที่เกิดกับโรงเรียน รวมถึงส่งผลให้การจัดการศึกษาพัฒนานักเรียนของโรงเรียนในปีการศึกษา 2564 เป็นไปอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา โดยมีผลการประเมินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับคุณภาพดีเลิศ