ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา

ชื่อเรื่องการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา

ผู้วิจัย นางสาวขนิษฐา พลายเพ็ชร์

ปีที่ทำวิจัยปีการศึกษา 2563 – 2564

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. สร้างรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา เพื่อนำมา

พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

2. ประเมินรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียน

สระกระโจมโสภณพิทยา จำนวน 27 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร 2 คน และครู25 คนกลุ่มตัวอย่างที่

ใช้ในการวิจัยได้แก่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการสนทนากลุ่ม(Focus group) เกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศของ

โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยาในอนาคต จำนวน 15 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์

จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้ร่วมสนทนากลุ่มของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา จำนวน 10 คน

มีวิธีดำเนินการวิจัย6 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนที่1การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไป

ตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา

ขั้นตอนที่2EDFR รอบที่1เป็นการนำแบบสัมภาษณ์ที่ได้จากการสนทนา ไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ

โดยผู้วิจัยส่งหัวข้อการสัมภาษณ์ไปยังผู้เชี่ยวชาญ 15 คน ขั้นตอนที่3การสร้างแบบสอบถาม โดย

ผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (EDFR รอบที่1) สร้างแบบสอบถามถาม เป็น

แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับขั้นตอนที่4นําข้อความจากความคิดเห็นของ

ผู้เชี่ยวชาญจากการสัมภาษณ์รอบที่1ที่มีความเห็นสอดคล้องกันตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป สร้าง

แบบสอบถามรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มาทำ EDFR รอบที่2และรอบที่3ขั้นตอนที่5การ

ตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนําไปปฏิบัติของรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตาม

บริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ผู้วิจัย

ดำเนินการ โดยการสนทนากลุ่ม(Focus group discussion) และขั้นตอนที่6สรุปความคิดเห็นที่ได้

จากการสนทนากลุ่ม

เครื่องมือที่ใช้เก็บรวมรวมข้อมูลในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามการพัฒนา

รูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

สระกระโจมโสภณพิทยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC: Index of Item-Objective Congruent) ร้อยละ (Percentage)

ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์(Interquartile range) และการตรวจสอบรูปแบบ

การนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระ

กระโจมโสภณพิทยา โดยการสนทนากลุ่ม(Focus group) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม และความ

เป็นไปได้ในการนำรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาไปใช้ในโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ

โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ประกอบด้วยกระบวนการ 8 ด้าน62 องค์ประกอบ ได้แก่ด้านการ

วิเคราะห์สภาพความต้องการของการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา 6 องค์ประกอบ

ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนัก8 องค์ประกอบ ด้านการพัฒนาทักษะการทำงาน

กลุ่ม8 องค์ประกอบ ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพและการสาธิตรูปแบบการสอน 10

องค์ประกอบ ด้านการร่วมคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้/กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) 7

องค์ประกอบ ด้านการพัฒนาหลักสูตร10 องค์ประกอบ ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 7

องค์ประกอบ และด้านการติดตาม ประเมินผลตลอดกระบวนการ 6 องค์ประกอบ

2. ผลการตรวจสอบรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนา

คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มีความเหมาะสมสามารถนำไปปฏิบัติได้และ

มีองค์ประกอบเหมือนกับองค์ประกอบที่สร้างขึ้นตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของ

สถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา โดยภาพรวม พบว่า

มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

บทนำ

โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่าง

หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจสังคม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเมืองการปกครอง

และการศึกษา มนุษย์จึงเป็นปัจจัยหลักที่จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นลำดับแรก โดยการ

พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาประเทศ ซึ่งการจัดการศึกษาของไทย

มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามสถานการณ์นโยบายปฏิรูปการศึกษามาโดยลำดับการศึกษาเป็น

รากฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาประเทศชาติและแก้ปัญหาต่างๆ

บนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างรอบด้าน เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาคนให้มี

การเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่21 ซึ่งมีสิ่งที่สำคัญที่สุดคือทักษะ

การเรียนรู้และการเสริมสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของคน

ดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียน

การสอนให้สอดคล้องกับปรัชญาและจุดหมายของการศึกษา ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำหลักสูตร

ไปใช้ก็คือครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีบทบาทสำคัญที่จะต้องทำหน้าที่กระตุ้นเร่งเร้า

ให้ครูมีความตื่นตัวที่จะปรับปรุงการเรียนการสอน และพัฒนาศักยภาพของตนไปสู่ความสำเร็จในการ

จัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คาดหวังของสังคมไทย ให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ

มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพ

มีหลากหลายวิธีและวิธีที่สถานศึกษาสามารถดำเนินงานได้ทั้งระบบด้วยกันได้คือการนิเทศ

การศึกษา ซึ่งถือเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลโดยตรงต่อมาตรฐานการจัดการศึกษา และ

พัฒนาการศึกษาในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การ

นิเทศการศึกษาจะเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนได้เป็น

อย่างด ีเพราะการนิเทศเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา และเป็นกระบวนการที่มีจุดหมายหลัก

ในการช่วยพัฒนาครูให้มีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับ

ครูผู้รับการนิเทศ เพื่อให้มีขวัญกำลังใจ สามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรวมถึงการทำงานของ

ตนเองได้และมีผลต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน

ต่อไปในที่สุดดังคำกล่าวที่ว่า“การจัดการที่ดีเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรการนิเทศ

การศึกษาที่ดีนำไปสู่การจัดการที่ด”ี(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2562)

จากที่กล่าวมาข้างต้นสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่4)พ.ศ. 2562 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2562) ได้กล่าวอีกว่าการ

กระจายอำนาจมีเป้าหมายหลักที่สำคัญ3 ประการ คือพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและการ

เรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้อย่างทั่วถึงมีคุณภาพ และส่งเสริมการมี

ส่วนร่วมของคนทุกภาคส่วนในการบริหารและการจัดการศึกษา ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา

คุณภาพการศึกษา ประกอบด้วยกระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการ

นิเทศการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยมีศึกษานิเทศก์เป็น

กำลังสำคัญในการสนับสนุนความสามารถของครูกระตุ้นยั่วยุให้ครูผู้บริหารโรงเรียนสามารถ

ปฏิบัติงานการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลต่อผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ ถึงแม้ว่าการนิเทศ

การศึกษาจะมีเป้าหมายหลักอยู่ที่คุณภาพผู้เรียน แต่การดำเนินงานกระทำผ่านตัวกลาง คือครูและ

บุคลากรทางการศึกษา ด้วยมีความคาดหวังว่ากิจกรรมต่างๆ ที่ครูได้รับนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการ

พัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนซึ่งมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโดยตรง

(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ,2541) และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน

ภารกิจตามนโยบายในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

หน่วยงานทางการศึกษามีแนวทางในการปฏิบัติมากมาย ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมการดำเนินการที่

สำคัญคือการนิเทศติดตาม ส่งเสริมช่วยเหลือและพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดคุณภาพโดย

อาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่ายในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาคุณภาพ

การเรียนการสอน ซึ่งปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้บุคลากรต้องมีการปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ทันต่อการ

เปลี่ยนแปลง เพื่อการปฏิบัติงานที่ได้คุณภาพ การนิเทศการสอนมีความสำคัญต่อการเรียนการสอน

เป็นอย่างยิ่งเพราะในบางครั้งแม้ว่าครูผู้สอนจะได้ใช้ความรู้ความสามารถในกิจกรรมที่ได้วางแผนไว้

แล้วก็ตาม อาจจะมีบางอย่างขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์หากมีบุคคลอื่นคอยชี้แนะ แนะนำ ช่วยเหลือ

จะทำให้การสอนเกิดผลดีกว่าการสอนเพียงคนเดียว(วัชรา เล่าเรียนดี,2553, น. 21)

การจัดการศึกษาของสถานศึกษาจะเกิดคุณภาพนั้นได้ต้องประกอบด้วย3 กระบวนการ คือ

กระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศึกษา ทั้งนี้จึงแสดงให้เห็น

ว่าการนิเทศการศึกษามีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการนิเทศการศึกษาเป็นการ

ชี้แจง การแนะนำ และการนิเทศการศึกษาเป็นภารกิจที่จำเป็นต่อการศึกษา เป็นเรื่องละเอียดอ่อน

จำเป็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่ายในหลาย ๆ ด้าน เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพ

การศึกษา ดังจะเห็นจากความจำเป็นหลายประการ ได้แก่ประการแรก คือความเปลี่ยนแปลงของ

สังคม ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็วบุคลากรในหน่วยงาน

ทางการศึกษาจำเป็นต้องปรับปรุงตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างมี

คุณภาพ ซึ่งการนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือและพัฒนางานให้ทันต่อ

สภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นประการที่สอง คือในหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับมีเป้าหมาย

ในการปฏิบัติงานร่วมกันคือพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงจำเป็นต้องใช้กระบวนการการบริหาร

กระบวนการเรียนการสอนและกระบวนการนิเทศเพื่อจะได้ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและ

กันดังนั้นการนิเทศการศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเหลือสนับสนุนให้กระบวนการบริหาร

และกระบวนการเรียนการสอนมีคุณภาพถึงระดับที่พึงประสงค์และประการสุดท้ายคือมาตรฐาน

การศึกษาของประเทศ จำเป็นต้องมีการรักษาและควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐาน และกระบวนการ

นิเทศการศึกษาก็มีขอบข่ายการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นการควบคุมมาตรฐานการศึกษาโดยตรง จะเห็นว่า

การนิเทศการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาใน

สถานศึกษาให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนและปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา เมื่อเป็น

เช่นนั้นแล้วเราจะละเลยไม่มีการนิเทศการศึกษาได้อย่างไร (อารีบัวแฝง, 2563 อ้างถึงใน ทิพวรรณ

ถาวรโชต, 2564) การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อช่วยเหลือและพัฒนางาน

ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยังช่วยพัฒนา สนับสนุนส่งเสริมการทำงานซึ่งกันและกันการ

นิเทศการศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการบริหาร และกระบวนการเรียน

การสอนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วยการให้ความช่วยเหลือครูผู้สอน โดยให้มี

การปรับปรุงแนวการสอน รูปแบบการสอนของครูอย่างสม่ำเสมอ มีการวางแผนการแก้ปัญหา กำหนด

เป้าหมายของกลุ่มรวมกันมีการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพและความ

ต้องการของผู้เรียน (ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์,2553, น. 226)

ปัญหาของการนิเทศการศึกษาในสถานศึกษา เป็นปัญหาที่สถานศึกษาต้องการความ

ช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกๆ ด้าน เพื่อชี้แนะแนวทางและพัฒนาการจัด

การศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก/กลาง และอยู่ห่างไกล ซึ่งต้องการการช่วยเหลือจากภาคส่วน

ต่างๆ ที่มีบทบาทในการช่วยพัฒนาการจัดการศึกษา ทั้งในด้านการบริหารวิชาการ การบริหาร

งบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป ปัญหาที่เกิดขึ้นของการจัดการศึกษานั้นต้องมี

การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดและตรงกับหลักการต่าง ๆ ของการจัดการศึกษา ซึ่งจะทำให้เกิด

ประสิทธิภาพดังที่ได้กล่าวมานั้นแต่ความต้องการของสถานศึกษาดังกล่าวยังไม่ได้รับการตอบสนอง

อย่างแท้จริงเนื่องมาจากการขาดแคลนศึกษานิเทศก์และบุคลากรในการนิเทศการศึกษา รวมทั้ง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีความจําเป็นในการพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยให้

สถานศึกษาปฏิบัติงานได้ตามมาตราฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา

การสร้างคุณภาพการศึกษาจึงต้องประกอบด้วยหลักการร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและ

หน่วยงานหลายภาคส่วนการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างกลุ่มบุคคล ทั้งนี้การรวมกลุ่มของบุคลากร

ที่มีบทบาทด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และครูผู้สอน

ถือว่ามีความจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน อีกทั้งสภาพบริบทของสถานศึกษาแต่ละ

แห่งมีความแตกต่างกันทั้งด้านปัจจัยนำเข้า(นักเรียน) ลักษณะของครูและบุคลากรทางการศึกษาใน

โรงเรียน สภาพแวดล้อม วัฒนธรรมองค์กรรวมถึงปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งส่งผลต่อการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้นทั้งนี้รูปแบบการนิเทศภายในที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้อง

อาศัยทั้งความร่วมมือและต้องมีรูปแบบที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์หลัก

เพื่อพัฒนาการศึกษาให้เกิดคุณภาพ นั่นคือความพยายามทุกอย่างของผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาใน

การให้ความช่วยเหลือแนะนําครูหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการ

ปรับปรุงวิธีสอน ที่จะช่วยพัฒนาครูให้เกิดความงอกงามทางวิชาชีพทางการศึกษาให้รู้จักเลือกและใช้

วัสดุอุปกรณ์การสอน ปรับปรุงหลักสูตรและเลือกเนื้อหาสาระที่จะนํามาสอน ที่จะรวมถึงการพัฒนา

และปรับปรุงวิธีสอน และการประเมินผลการสอน (Good, 1973)

โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ตั้งอยู่ตำบลสระกระโจม

อำเภอดอนเจดีย์จังหวัดสุพรรณบุรีมีสภาพพื้นที่แห้งแล้งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่

อ้อยรับจ้างเลี้ยงวัวและรับจ้างทั่วไป ฐานะทางเศรษฐกิจยากจนถึงปานกลาง ส่งผลให้คุณภาพชีวิต

อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง นักเรียนส่วนใหญ่ด้อยโอกาสทางการศึกษาและมีฐานะยากจน ดังนั้นครู

และบุคลากรของโรงเรียนถือเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานต่างๆ ทั้งด้านการจัดการศึกษาและ

การดูแลนักเรียน ครูและบุคลากรส่วนใหญ่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีศักยภาพเฉพาะตัว

บุคคลสูงและหลากหลาย แต่จากการสำรวจผลการปฏิบัติงาน ในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าส่วน

ใหญ่ขาดความกระตือรือร้นในการร่วมกันขับเคลื่อนโรงเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด คือการ

มุ่งยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากล นอกจากนี้ยังมีการบรรจุครูใหม่เข้ามาทุกปี

การศึกษา ในขณะที่มีการเกษียณอายุราชการของบุคลากรทุกปีการศึกษาเช่นกันจึงทำให้เกิดความ

ต่างของวัยในการทำงานร่วมกันของครูและบุคลากร ซึ่งมีวิธีการ/ รูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

รวมถึงการทำงานที่แตกต่างกันไปตามวัยการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ยังใช้สื่อการสอนแบบเดิม

ๆ ขาดการสร้าง/ พัฒนาสื่อการสอนหรือนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

กระบวนการสอนไม่จูงใจผู้เรียนให้เกิดความใฝ่รู้ใฝ่เรียน เท่าที่ควร ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้

ของผู้เรียนยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานของชาติการนิเทศการจัดการ

เรียนการสอนจึงมีบทบาทสูงมากในการที่จะช่วยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเองให้มี

สมรรถนะสูงเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะ

ตามที่สังคมและประเทศชาติต้องการ เพื่อให้การนิเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ

นโยบายการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของ

กระทรวงศึกษาธิการ รูปแบบและกระบวนการนิเทศจึงจำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้

สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งความต้องการของผู้รับการนิเทศด้วยเหมือนกันควรมีการ

นำเอารูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ที่ประสบความสำเร็จเข้ามาประยุกต์ใช้(โรงเรียนสระกระโจม

โสภณพิทยา, 2564, น.7)

จากการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง

รวดเร็วรวมถึงศึกษาและวิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ผู้วิจัยมีความสนใจ

ศึกษารูปแบบการนิเทศที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยามากที่สุดเรื่องการ

พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ

โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา โดยออกแบบระบบการนิเทศภายในที่มีรูปลักษณ์ของกระบวนการ

ปฏิบัติเป็นแบบเฉพาะของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา เพื่อนำมาใช้ในการกำกับติดตามการ

ปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับสภาพจริงของโรงเรียน เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพของบุคลากรในด้าน

การจัดการเรียนการสอน และการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ก้าวสู่มาตรฐานครูมืออาชีพและ

ตอบสนองการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของโรงเรียน คือ“โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา เป็นโรงเรียน

มาตรฐานสากล ฝึกฝนความมีวินัยรักษ์ความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่ง

หมายและหลักการ รวมทั้งแนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. สร้างรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา เพื่อนำมา

พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

2. ประเมินรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนที่1การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนา

คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ผู้วิจัยดำเนินการ ดังนี้

1. การศึกษาข้อมูลเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีและ

งานวิจัยที่เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาของ Glickman (2004, pp. 11) ซึ่งประกอบด้วยหลัก5

ประการ คือ1) การให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง 2) การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม3) การ

เสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ4) การพัฒนาหลักสูตรและ 5) การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน

ประกอบกับแนวคิดของ สุมน อมรวิวัฒน์(2545, น. 217-220) ได้กล่าวถึงการนิเทศโดยรูปแบบ

กัลยาณมิตรไว้4ประการ คือ1) การสร้างศรัทธา 2) การสาธิตรูปแบบการสอน 3) การร่วมคิดและ

เปลี่ยนเรียนรู้และ 4) การติดตามประเมินผลตลิดกระบวนการ และกระบวนการนิเทศของโรงเรียน

สระกระโจม-โสภณพิทยา ได้แก่1) ขั้นเตรียมการ-เตรียมใจ/ ความรู้/สื่อ/เครื่องมือ/สถานท ี่2) ขั้น

ดำเนินการ-สร้างความตระหนักความรู้ความเข้าใจ ปฏิบัติตาม องค์ประกอบของ “KRACHOM S

MODEL” ซึ่งมี7องค์ประกอบ ได้แก่K= Knowledge หมายถึงความรู้R= Reciprocity หมายถึง

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้A= Active Learning หมายถึงการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมและมี

ปฏิสัมพันธ์C= 21st Century Skills หมายถึงทักษะในศตวรรษที่21 H = Heartiness หมายถึง

เป็นหนึ่งเดียว O = Oneness หมายถึงเป็นหนึ่งเดียว และ M = Manage หมายถึงการบริหาร

จัดการ โดยมีกิจกรรมการนิเทศภายใน 6 กิจกรรม ได้แก่การเยี่ยมชั้นเรียน, การชี้แนะและสอนงาน,

การประชุมนิเทศ ติดตาม ทบทวนการปฏิบัติงาน, การนิเทศบูรณาการ สร้างสรรค์ร่วมกับชุมชนการ

เรียนรู้วิชาชีพ,การนิเทศ Online (สถานการณ์Covid-19) โดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน และการสรุปและ

รายงานผลการนิเทศ และ 3) ขั้นประเมินผล-วิเคราะห์ตรวจสอบ สังเกต และรับฟังข้อมูลป้อนกลับ

เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา

ซึ่งการได้มาของกระบวนการนิเทศของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยานั้นผู้วิจัยได้ทำการ

วิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียน จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกแบบ C-PEST คือการ

วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน นำปัจจัย5 ด้านประกอบด้วย1) ด้านพฤติกรรมของ

ลูกค้านักเรียน/ ผู้ปกครอง: C 2) ด้านการเมืองและกฎหมาย: P 3) ด้านเศรษฐกิจ:E 4) ด้านสังคมและ

วัฒนธรรม: S และ 5) ด้านเทคโนโลยี:Tที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นโอกาส และข้อมูลที่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ยังวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน

แบบ 7S โดยนำปัจจัย7 ด้านมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นโอกาส ข้อมูลที่เป็นอุปสรรค ซึ่ง

ประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้าง: S1 2) ด้านกลยุทธ์ของสถานศึกษา: S2 3) ด้านระบบในการ

ดำเนินงานของสถานศึกษา: S3 4) ด้านแบบแผนหรือพฤติกรรมในการบริหารจัดการ: S4 5) ด้าน

บุคลากรในสถานศึกษา: S5 6) ด้านทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากร: S6 และ 7) ด้านค่านิยม

ร่วมกันของบุคลากรในสถานศึกษา: S7

2. ร่างรูปแบบจากกรอบแนวคิดของการวิจัยในข้อที่1เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่

เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา

โดยสร้างรูปแบบการนิเทศ 8 ด้านคือ1) ด้านการวิเคราะห์สภาพความต้องการของการนิเทศภายในที่

เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา จำนวน 6 ข้อ2) ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความ

ตระหนักจำนวน 6 ข้อ3) ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มจำนวน 8 ข้อ4) ด้านการเสริมสร้าง

ประสบการณ์ทางวิชาชีพและการสาธิตรูปแบบการสอน จำนวน 10 ข้อ5) ด้านการร่วมคิด

แลกเปลี่ยนเรียนรู้/กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) จำนวน 7 ข้อ6) ด้านการพัฒนา

หลักสูตรจำนวน 10 ข้อ7) ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 7 ข้อและ 8) ด้านการ

ติดตาม ประเมินผลตลอดกระบวนการ จำนวน 6 ข้อ

3. การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา โดยการนำรูปแบบจากข้อที่2มาสัมภาษณ์และ

สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาฉันทามติโดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ

4. ตรวจสอบกรอบแนวคิดการวิจัยโดยจัดสนทนากลุ่ม(Focus group) ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ

รูปแบบการนิเทศของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยาในอนาคต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 คน

ประกอบด้วยผู้บริหาร 2 คน หัวหน้าฝ่าย4 คน และเป็นครู9คน ณ ห้องโสตฯ 1 โรงเรียนสระ

กระโจมโสภณพิทยา เมื่อวันที่2มิถุนายน พ.ศ. 2564 ณ ห้องโสตทัศนศึกษา 1 โรงเรียนสระกระโจม

โสภณพิทยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้พิจารณากรอบแนวคิดในการวิจัยและร่วม

แสดงความคิดเห็นรูปแบบการนิเทศในอนาคตของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา นำแบบสอบถาม

ที่ได้ส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาอีกครั้ง

ขั้นตอนที่2EDFR รอบที่1เป็นการนำแบบสัมภาษณ์ที่ได้จากการสนทนา ไปสัมภาษณ์

ผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้วิจัยส่งหัวข้อการสัมภาษณ์ไปยังผู้เชี่ยวชาญ 15 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน

มัธยมศึกษา 4 คน ศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ 3 คน และครูผู้สอนที่มีวิทยฐานะ

ไม่ต่ำกว่าชำนาญการ และเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้8คน ก่อนที่จะเดินทางไปสัมภาษณ์การ

สัมภาษณ์แบบ EFR (Ethnographic Futures Research) เป็นการสัมภาษณ์แบบปลายเปิดและไม่

เป็นคำถามแบบชี้นำ (Non-directive open- ended) รวมทั้งอนาคตภาพด้านที่ดี(Optimistic-

realistic) อนาคตภาพด้านที่ไม่ดี(Pessimistic-realistic) และอนาคตที่คาดว่ามีโอกาสที่จะเกิดขึ้น

จริงหรือที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ตามลำดับโดยผู้วิจัยดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

จำนวน 15 คน ด้วยตนเอง พร้อมทั้งบันทึกไว้ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ตั้งแต่1-3 ชั่วโมง ใช้เวลาใน

การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2564

1. เกณฑ์การคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตาม

เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์จำนวน 15 ท่านกำหนดคุณสมบัติดังนี้

1.1 เป็นผู้มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน หรือการนิเทศไม่น้อยกว่า5 ปี

1.2 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโททางด้านการศึกษา หรือมีวิทยฐานะไม่

ต่ำกว่าชำนาญการ

1.3 เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ บทบาทหน้าที่ในการนิเทศเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้

1.4 เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และครูที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้า

กลุ่มสาระการเรียนรู้

2. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 4 คน

ศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ 3 คน และครูผู้สอนที่เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้8คน

ขั้นตอนที่3การสร้างแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ

(EDFR รอบที่1) สร้างแบบสอบถามถาม เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับโดย

กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้(Best & Kalm, 1993, pp. 246-250)

จากนั้นนําแบบสอบถามสอบถามให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา โดยการ

หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Item Objective Congruence Index: IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน

ขั้นตอนที่4นําข้อความจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากการสัมภาษณ์รอบที่1ที่มี

ความเห็นสอดคล้องกันตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป สร้างแบบสอบถามรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไป

ตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มาทำ

EDFR รอบที่2และรอบที่3โดยผู้วิจัยนําแบบสอบถามส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตอบครั้งที่2และเมื่อได้รับ

แบบสอบถามกลับมา ผู้วิจัยนําแบบสอบถามส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตอบอีกเป็นครั้งที่3เมื่อได้แบบสอบถาม

ครั้งที่3กลับมา ผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน (Median: Men.) และค่าพิสัยระหว่างควอ

ไทล์(Interquartile Range: IR.) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาข้อที่มีค่ามัธยฐาน ตั้งแต่3.50 ขึ้นไป

และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์1.50 ลงมา

ขั้นตอนที่5การตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนําไปปฏิบัติของรูปแบบการ

นิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจม

โสภณพิทยา ผู้วิจัยดำเนินการ โดยการสนทนากลุ่ม(Focus group discussion) ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการ

เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา

กับผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา จำนวน 10 คน ได้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน

1 คน รองผู้อํานวยการโรงเรียนจำนวน 1 คน หัวหน้าฝ่ายจำนวน 4 คน และครูผู้สอน จำนวน 4 คน

ขั้นตอนที่6สรุปความคิดเห็นที่ได้จากการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ

โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ประกอบด้วยกระบวนการ 8 ด้าน62 องค์ประกอบ ได้แก่ด้านการ

วิเคราะห์สภาพความต้องการของการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา 6 องค์ประกอบ

ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนัก8 องค์ประกอบ ด้านการพัฒนาทักษะการทำงาน

กลุ่ม8 องค์ประกอบ ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพและการสาธิตรูปแบบการสอน 10

องค์ประกอบ ด้านการร่วมคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้/กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) 7

องค์ประกอบ ด้านการพัฒนาหลักสูตร10 องค์ประกอบ ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 7

องค์ประกอบ และด้านการติดตาม ประเมินผลตลอดกระบวนการ 6 องค์ประกอบ

2. ผลการตรวจสอบรูปแบบการนิเทศที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนา

คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มีความเหมาะสมสามารถนำไปปฏิบัติได้และ

มีองค์ประกอบเหมือนกับองค์ประกอบที่สร้างขึ้นตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

ข้อเสนอแนะ

จากผลการวิจัยรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนา

คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสาหรับการนาผลการวิจัย

ไปใช้ดังนี้

ข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้

1. จากผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ได้รูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของ

สถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ที่ผู้บริหารสถานศึกษา

และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการนิเทศภายในสถานศึกษา และ

การนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา อีกทั้งได้นำผล

จากการวิจัยครั้งนี้ไปพัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของ

สถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ลงสู่การปฏิบัติด้วย

รูปแบบการนิเทศ KRACHOM S MODEL ซึ่งมีองค์ประกอบในการดำเนินงานนิเทศภายในของ

โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา 7 องค์ประกอบ ดังนี้K= Knowledge หมายถึงความรู้R=

Reciprocity หมายถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้A= Active Learning หมายถึงการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน

มีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์C = 21st Century Skills หมายถึงทักษะในศตวรรษที่H =

Heartiness หมายถึงความเต็มใจ และ O = Oneness หมายถึงเป็นหนึ่งเดียว และ M =

Management หมายถึงการบริหารจัดการโดยใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA เป็นตัวควบคุม

ระบบผลการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกทั้งมีการลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรม 6 กิจกรรม ได้แก่

การเยี่ยมชั้นเรียน การชี้แนะและสอนงาน การประชุมนิเทศ ติดตาม ทบทวนการปฏิบัติงาน การ

นิเทศบูรณาการสร้างสรรค์ร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพการนิเทศ Online (สถานการณ์

Covid-19) และการสรุปและรายงานผลการนิเทศ

2. การนำรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ไปใช้ให้เกิดประสิทธิผลควรมีการดำเนินกิจกรรมการ

นิเทศภายในอย่างต่อเนื่องเพราะกิจกรรมของรูปแบบการนิเทศภายในสามารถช่วยให้ผู้ให้การนิเทศ

และครูผู้รับการนิเทศได้รับการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสามารถ

นำประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการนิเทศภายในไปต่อยอดพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ

ที่ได้จากการสะท้อนผลการนิเทศของผู้ให้การนิเทศ อีกทั้งช่วยให้ครูผู้รับการนิเทศ เพิ่มประสิทธิภาพ

ในการจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น

3. โรงเรียนอื่นสามารถนำแนวทางการวิจัยรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของ

สถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ไปประยุกต์/ปรับใช้

สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียนตนเอง ตามสภาพบริบทที่

เหมาะสมได ้

4. ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปฏิบัติหน้าที่นิเทศควรเข้าใจรูปแบบการนิเทศภายในของ

โรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยาอย่างถ่องแท้และสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและ

สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดเช่นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

20019 (Covid-19)

5. โรงเรียนควรมีกิจกรรม/ เวทีในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร

เกี่ยวกับกิจกรรมการนิเทศภายใน รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลที่ได้จากการดำเนินการนิเทศภายใน

เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสะท้อนกลับในการจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสมและหลากหลาย

6. โรงเรียนควรมีการติดตามผลการนิเทศ และจัดให้มีการรายงานผลการนิเทศการจัดการ

เรียนรู้ทุกครั้งของการสิ้นสุดการนิเทศ บันทึกผล และนําผลที่ได้มาพัฒนาการนิเทศการจัดการเรียนรู้

ในครั้งต่อๆ ไป

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรศึกษาการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่างๆ แบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้

ได้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

2. ควรศึกษาการพัฒนาผู้ปฏิบัติหน้าที่นิเทศการจัดการเรียนรู้ให้มีศักยภาพ เพื่อให้ได้แนว

ทางการปฏิบัติหน้าที่นิเทศการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

3. ควรศึกษาแบบแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เป็นระบบ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่

นิเทศการจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

4. ควรศึกษาความต้องการนิเทศการจัดการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อนํามาพัฒนาการ

นิเทศการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนที่

แตกต่างกัน

การต่อยอดจากผลของการวิจัย

นำผลจากการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา

เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา มาพัฒนาต่อยอด รูปแบบการ

นิเทศภายในของสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา

“KRACHOM S MODEL” ซึ่งเกิดจากการนำข้อมูลที่ได้จากการทำ SWOT Analysis เพื่อค้นหา

จุดแข็งจุดอ่อนโอกาส อุปสรรค มาเป็นองค์ประกอบในการร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการกำหนด

รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา ให้เหมาะสมกับสภาพ

บริบท ซึ่งโรงเรียนคำนึงถึงผลการจัดทำ SWOT มากำหนดโอกาสเชิงกลยุทธ์โดยฝ่ายบริหารได้แต่งตั้ง

คณะกรรมการดำเนินงาน จัดประชุมระดมความคิดรับฟังข้อมูลจากผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน และ

พันธมิตรแล้วตัดสินใจเลือกโอกาสเชิงกลยุทธ์โดยพิจารณาจากโอกาสที่เอื้อต่อการพัฒนาการจัด

การศึกษาจึงเลือกใช้กลยุทธ์“เอื้อและแข็ง”ทั้งนี้มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกแบบ C-

PEST คือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน นำปัจจัย5 ด้านที่ส่งผลต่อการบริหาร

จัดการหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และสภาพแวดล้อมภายในแบบ 7S โดยนำปัจจัย7 ด้านมา

วิเคราะห์เพื่อให้ได้บริบทของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา และใช้กระบวนการนิเทศภายในมา

เป็นตัวขับเคลื่อน ด้วยรูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จของโรงเรียน

สระกระโจมโสภณพิทยา “KRACHOM S MODEL” ซึ่งมีคำอธิบายดังนี้

คำอธิบายชื่อของโมเดล (MODEL)

ชื่อของ MODEL มีความหมาย ดังนี้

KRACHOM หมายถึงชื่อย่อของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยาในภาษาอังกฤษ

ซึ่งชื่อเต็มของโรงเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษ คือSRAKRACHOMSOPONPITTAYA

S ในที่นี้มีความหมาย 3S ได้แก่

S1 = Supervision หมายถึงการนิเทศภายในสถานศึกษา ของโรงเรียน

สระกระโจมโสภณพิทยา

S2 = School หมายถึงโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา

S3 = Students หมายถึงนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสระกระโจม

โสภณพิทยา

รวมความหมายของ 3S หมายถึงรูปแบบ/ กระบวนการนิเทศภายใน

สถานศึกษาของโรงเรียนสระกระโจมโสภณพิทยา โดยใช้รูปแบบ “KRACHOM S MODEL” ซึ่งมี

เป้าหมายความสำเร็จที่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

โพสต์โดย ดร.ขนิษฐา : [24 พ.ย. 2565 เวลา 08:19 น.]
อ่าน [1949] ไอพี : 180.180.164.110
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 7,394 ครั้ง
"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"
"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"

เปิดอ่าน 25,522 ครั้ง
พระกฤษณะ
พระกฤษณะ

เปิดอ่าน 22,435 ครั้ง
คำอวยพรปีใหม่ของชาติต่างๆ
คำอวยพรปีใหม่ของชาติต่างๆ

เปิดอ่าน 15,006 ครั้ง
4 ท่าบริหาร เพื่อหน้าท้องเพรียวสวย
4 ท่าบริหาร เพื่อหน้าท้องเพรียวสวย

เปิดอ่าน 11,989 ครั้ง
ดาวน์โหลด! คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ดาวน์โหลด! คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

เปิดอ่าน 13,398 ครั้ง
อาหารมงคลรับปีใหม่-สมุนไพรไล่หนาว
อาหารมงคลรับปีใหม่-สมุนไพรไล่หนาว

เปิดอ่าน 29,118 ครั้ง
หลักสูตรการสอบภาค ข ครูผู้ช่วย สพฐ. ตามหนังสือ ว14/2558
หลักสูตรการสอบภาค ข ครูผู้ช่วย สพฐ. ตามหนังสือ ว14/2558

เปิดอ่าน 40,867 ครั้ง
Adjectives - Determiners
Adjectives - Determiners

เปิดอ่าน 12,180 ครั้ง
เปิดเทอมทั้งที "ของดี ๆ" ในกระเป๋าหายหมด
เปิดเทอมทั้งที "ของดี ๆ" ในกระเป๋าหายหมด

เปิดอ่าน 33,363 ครั้ง
ทำโทรศัพท์มือถือเป็นเม้าส์ไร้สายกันเถอะ
ทำโทรศัพท์มือถือเป็นเม้าส์ไร้สายกันเถอะ

เปิดอ่าน 7,537 ครั้ง
สุดเจ๋ง! หนุ่มจบ ม.6 ประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ยกหมู่บ้าน
สุดเจ๋ง! หนุ่มจบ ม.6 ประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ยกหมู่บ้าน

เปิดอ่าน 103,428 ครั้ง
บทสวดอโหสิกรรม
บทสวดอโหสิกรรม

เปิดอ่าน 19,771 ครั้ง
รู้หรือไม่ ที่ฟินแลนด์ ยกระดับการศึกษา ต้องเริ่มที่พัฒนาครูผู้สอน
รู้หรือไม่ ที่ฟินแลนด์ ยกระดับการศึกษา ต้องเริ่มที่พัฒนาครูผู้สอน

เปิดอ่าน 18,873 ครั้ง
ดูลายมือ "ผู้วิเศษ"
ดูลายมือ "ผู้วิเศษ"

เปิดอ่าน 295,396 ครั้ง
5 วิธีเช็กเบอร์โทรศัพท์ว่าเป็นของใคร รู้ไว้ป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวง
5 วิธีเช็กเบอร์โทรศัพท์ว่าเป็นของใคร รู้ไว้ป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวง

เปิดอ่าน 11,903 ครั้ง
"ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
"ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน" ใช้ ICT เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
เปิดอ่าน 9,757 ครั้ง
หลากหลายวิธี ช่วยให้อารมณ์ดีทันตาเห็น
หลากหลายวิธี ช่วยให้อารมณ์ดีทันตาเห็น
เปิดอ่าน 11,929 ครั้ง
ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เป็นเบาหวาน กินอย่างไรดี
ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เป็นเบาหวาน กินอย่างไรดี
เปิดอ่าน 50,567 ครั้ง
ประโยชน์ "คาเฟอีน" ในกาแฟ
ประโยชน์ "คาเฟอีน" ในกาแฟ
เปิดอ่าน 47,544 ครั้ง
การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งสู่อนาคต (Basic Education for Future) : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งสู่อนาคต (Basic Education for Future) : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ