งานวิจัย
ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยผ่านกิจกรรม
เกมการศึกษา
ชื่อผู้วิจัย นางสาวอัญธิชา หวลระลึก โรงเรียนอนุบาลโชคชัย (แม่เลียบแม่บง) อำเภอดอยหลวง
จังหวัดเชียงราย
สภาพปัญหา
จากการสังเกตและประเมินผลงานด้านทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1. การบอกตำแหน่ง 2. การจำแนก 3. การนับปากเปล่า 1-30 4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1-20 และการเพิ่ม ลด ภายในจำนวน 1-10 พบว่า นักเรียนยังขาดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ดังนั้นหากนักเรียน ได้รับการเรียนรู้และฝึกทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ผ่านการทำกิจกรรมเกมการศึกษาจะเป็นการช่วยเสริมสร้างทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์อีกทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ผ่านกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ทุกคน
สมมุติฐานของการวิจัย
ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลโชคชัย (แม่เลียบแม่บง) หลังการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ผ่านการทำกิจกรรมเกมการศึกษา
ขอบเขตของการวิจัย
เนื้อหา
ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลโชคชัย (แม่เลียบแม่บง) อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 21 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ แบบฝึกทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ผ่านการทำกิจกรรมเกมการศึกษา
ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิธีการวิจัย
1. วิเคราะห์กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์ โดยมีการสอดแทรกเนื้อหา และทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
2. กำหนดกฎเกณฑ์การวัดและประเมินทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
3. กำหนดการฝึกร่วมกัน
4. ดำเนินการฝึกตามแบบที่กำหนดไว้
5. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนทำกิจกรรมเกมการศึกษา
6. วัดและประเมินผลการฝึกทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ตามเกณฑ์ที่กำหนดและบันทึกผลการประเมินเพื่อดูความก้าวหน้าในการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง
7. สรุปผลการฝึกทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ผ่านกิจกรรมเกมการศึกษา
ช่วงเวลาดำเนินการ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
ผลการวิจัย
1. ก่อนฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
1.1 การบอกตำแหน่ง
มีคุณภาพระดับดีมาก ( 3 ) - คน
มีคุณภาพระดับดี ( 2 ) 3 คน
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) 16 คน
1.2 การจำแนก
มีคุณภาพระดับดีมาก ( 3 ) 2 คน
มีคุณภาพระดับดี ( 2 ) 3 คน
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) 14 คน
1.3 การนับปากเปล่า
มีคุณภาพระดับดีมาก ( 3 ) 5 คน
มีคุณภาพระดับดี ( 2 ) 5 คน
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) 9 คน
1.4 การรู้ค่ารู้จำนวน
มีคุณภาพระดับดีมาก ( 3 ) 1 คน
มีคุณภาพระดับดี ( 2 ) 3 คน
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) 15 คน
1.5 การเพิ่ม ลด
มีคุณภาพระดับดีมาก ( 3 ) 2 คน
มีคุณภาพระดับดี ( 2 ) 1 คน
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) 16 คน
2. ฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
1.1 การบอกตำแหน่ง
มีคุณภาพระดับดีมาก ( 3 ) 16 คน
มีคุณภาพระดับดี ( 2 ) 3 คน
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) - คน
1.2 การจำแนก
มีคุณภาพระดับดีมาก ( 3 ) 17 คน
มีคุณภาพระดับดี ( 2 ) 2 คน
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) - คน
1.3 การนับปากเปล่า
มีคุณภาพระดับดีมาก ( 3 ) 17 คน
มีคุณภาพระดับดี ( 2 ) 2 คน
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) - คน
1.4 การรู้ค่ารู้จำนวน
มีคุณภาพระดับดีมาก ( 3 ) 15 คน
มีคุณภาพระดับดี ( 2 ) 4 คน
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) - คน
1.5 การเพิ่ม ลด
มีคุณภาพระดับดีมาก ( 3 ) 16 คน
มีคุณภาพระดับดี ( 2 ) 3 คน
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) - คน
3. เมื่อเปรียบเทียบผลการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นรายบุคคลระหว่างก่อนและหลังฝึกทักษะระบายสีภาพ พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาการดีขึ้นทั้ง 19 คน คิดเป็น 100 %
ข้อเสนอแนะ
การฝึกทักษะครูควรเริ่มต้นจากง่าย ๆ ก่อนแล้วไปหายากหรือจากที่มีรายละเอียดน้อยไปหาที่มีรายละเอียดมากขึ้น