ชื่องานวิจัย: การพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเรียน โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
ชื่อผู้วิจัย: นายประวีณ เชิงสะอาด
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของรูปแบบ การสร้างรูปแบบ และนำไปทดลองใช้รูปแบบบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
การศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานโดยการศึกษาเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ประสบความสำเร็จและเป็นแบบอย่าง 5 โรงเรียน จำนวน 20 คน เพื่อทราบสภาพปัจจุบันของรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพ และการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เพื่อสอบถามจากโรงเรียน ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระ รวมทั้งสิ้น 52 คน เพื่อนำข้อมูลมาสร้างองค์ประกอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพแล้วนำผลที่ได้ไปจัดสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 9 คน เพื่อตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน จากนั้นนำผลที่ได้ไปใช้ที่โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ระยะเวลา 2 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 1/2562 และภาคเรียนที่ 1/2563 โดยทำการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และประโยชน์ของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบ ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนได้ใช้รูปแบบของกระทรงศึกษาธิการ ทั้ง 12 ด้าน ได้แก่
การบริหารหลักสูตร กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ การวัดประเมินผล การวิจัยเพื่อการพัฒนา การพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การแนะแนวการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมความรู้ทางด้านวิชาการ การประสานความร่วมมือและส่งเสริมสนับสนุนวิชาการกับโรงเรียนอื่นที่สามารถนำไปพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
2. รูปแบบการบริหารงารวิชาการที่สร้างขึ้นประกอบด้วยขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ มี 5องค์ประกอบ คือ 1) ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ 3) ด้านการพัฒนาทีมวิชาการ 4) ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดดุลยภาพ และ 5) ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 12 องค์ระกอบ และองค์ประกอบย่อยที่ 5.13 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนซึ่งเพิ่มเติมจากข้อเสนอแนะจากการสนทนากลุ่ม
3. ผลการนำรูปแบบไปทดลองใช้โดยการนำคู่มือรูปแบบการบริหารงานวิชาการไปใช้กับโรงเรียนเมืองสรวงวิทยา ได้ผลการประเมินคุณภาพการทดลองไปใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ
มีตัวบ่งชี้รายการประเมินทุกองค์ประกอบอยู่ในคุณภาพระดับดี และดีมาก ผลการระดมความคิดเห็นของครูผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่าควรบูรณาการสอนความรู้คู่คุณธรรม เพื่อให้ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับที่ดี อีกทั้งการนำไปใช้ควรคำนึงถึงบริบทของแต่ละสถานศึกษา ตลอดจนมีการวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4. ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเมืองสรวงวิทยา ก่อนและหลังการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเมืองรวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา ส่งผลให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรักชาติศาสน์ กษัตริย์ ด้านซื่อสัตย์สุจริต ด้านมีวินัย ด้านใฝ่ เรียนรู้ ด้านอยู่อย่างพอเพียง ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านรักความเป็นไทยและด้านมีจิตสาธารณะ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้ง 8 ด้าน สูงขึ้นหลังจากพัฒนาโดยการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการการบริหารงานวิชาการส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา ทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีขึ้น ผลการวิจัยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน อยู่ในระดับสูง สะท้อนให้ทราบว่านักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะที่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ใหญ่ในสังคม เป็นไปตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา