ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนบ้านทุ่งกรวด โดยใช้
รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP)
ผู้วิจัย ปภาวิน มัฏฐารักษ์
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context) ของประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนบ้านทุ่งกรวด 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนบ้านทุ่งกรวด 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) ของประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนบ้านทุ่งกรวด 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product) ของประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนบ้านทุ่งกรวด และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนบ้านทุ่งกรวด โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 593 คน ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 22 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (เลือกแบบเจาะจง) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ม.3 จำนวน 279 คน (เลือกแบบเจาะจง) และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ม.3 โรงเรียนบ้านทุ่งกรวด จำนวน 279 คน (เป็นผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการประเมิน ด้านบริบท พบว่า ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีระดับความเห็นด้านบริบท อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.27) และคณะกรรมการสถานศึกษา มีระดับความเห็นด้านบริบท อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.17)
2. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีระดับความเห็นด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.18) และคณะกรรมการสถานศึกษา มีระดับความเห็นด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.12)
3. ผลการประเมิน ด้านกระบวนการ พบว่า ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีระดับความเห็นด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.11) และคณะกรรมการสถานศึกษา มีระดับความเห็นด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.05)
4. ผลการประเมิน ด้านผลผลิต พบว่า ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีระดับความเห็นด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.21) คณะกรรมการสถานศึกษา มีระดับความเห็นด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.07) นักเรียน มีระดับความเห็นด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.34) และผู้ปกครอง มีระดับความเห็นด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.23)
ข้อเสนอแนะ ด้านบริบทผู้ดำเนินงานโครงการควรให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมาย วิธีดำเนินการ และระยะเวลาในการดำเนินการมีความเหมาะสม และสามารถปฏิบัติได้จริง และโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนและความต้องการของครู และนักเรียน ด้านปัจจัยนำเข้าควรมี
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการชัดเจน และการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินโครงการจากชุมชนและองค์กรอื่น ๆ ด้านกระบวนบริหาร ควรมีการนิเทศ ติดตาม กำกับ การดำเนินโครงการตามขั้นตอนที่กำหนดทุกระยะ และจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินโครงการจากชุมชนและองค์กรอื่น ๆ ด้านผลผลิต ควรส่งเสริมให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ ส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้รับความรู้ที่ครอบคลุมประเด็นที่สนใจในการศึกษา สนับสนุนนักเรียนไปประกวดแข่งขันทักษะในวิชาต่าง ๆ และส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงงานมากขึ้น