การพัฒนาแนวทางการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษาปฐมวัยโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) โรงเรียนอนุบาลนครนายก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
วัตถุประสงค์การวิจัย
๑) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid ๑๙) โรงเรียนอนุบาลนครนายก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
๒) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid ๑๙)โรงเรียนอนุบาลนครนายก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
๓) เพื่อพัฒนาแนวทางการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษาปฐมวัยโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid ๑๙) โรงเรียนอนุบาลนครนายก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
ผลการวิจัย สรุปได้ว่า
๑) ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษาปฐมวัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) โรงเรียนอนุบาลนครนายก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก พบว่า มีสภาพการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) โรงเรียนอนุบาลนครนายก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จำแนกเป็นรายด้านจำนวน ๕ ด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายใน รองลงมา คือ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการประเมินผลและรายงานผล เรียงลงมาตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ
ิ ๒) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) โรงเรียนอนุบาลนครนายก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก พบว่า
๒.๑ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายใน รองลงมา คือ ด้านการประเมินผลและรายงานผล ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ ด้านการวางแผนการนิเทศ เรียงลงมาตามลำดับ และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ
๒.๒ การศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการศึกษา
สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ และ ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายใน รองลงมา คือ ด้านการประเมินผลและรายงานผล และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการวางแผนการนิเทศ
๒.๓ การจัดเรียงลำดับค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) พบว่า ในภาพรวมมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ ๐.๓๑ (PNIModified = ๐.๓๑) ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ รองลงมา คือ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการประเมินผลและรายงานผล เรียงลงมาตามลำดับ และ ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายใน
๓) ผลการพัฒนาแนวทางการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษาปฐมวัยโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) โรงเรียนอนุบาลนครนายก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก โดยการประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ แนวทางการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษาปฐมวัยโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) โรงเรียนอนุบาลนครนายก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายใน ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ด้านการวางแผนการนิเทศ เรียงลงมาตามลำดับ และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการประเมินผลและรายงานผล