สุทธิชา ขันธวิทยา
รองผู้อำนวยการโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา ของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ ด้านบริบท (Context evaluation) 2) เพื่อประเมินโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา ของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) 3) เพื่อประเมินโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา ของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ ด้านกระบวนการ (Process evaluation) 4) เพื่อประเมินโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา ของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ ด้านผลผลิต (Product evaluation) ด้วยรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่1) ด้านบริบท (Context : C) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input : I) 3) ด้านกระบวนการ (Process : P) และ 4) ด้านผลผลิต (Product : P) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจานวน 2 คน ครู จำนวน 38 คน นักเรียน จำนวน 234 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 234 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น 521 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 8 ชุด ได้แก่ 1) แบบประเมินด้านบริบท โครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ 2) แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า โครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ 3) แบบประเมินด้านกระบวนการ โครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ 4) แบบประเมินด้านผลผลิตโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ 5) แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาความสอดคล้องด้านบริบท โครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 6 คน 6) แบบสัมภาษณ์ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการจำนวน 12 คน และสรุปผลสำเร็จของโครงการโดยภาพรวม จากการประเมินกิจกรรม
 
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท ของโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.17, S.D. = 0.11) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ความสอดคล้องของโครงการกับวิสัยทัศน์และนโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียน อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.30, S.D. = 0.17) รองลงมา ได้แก่ ความสอดคล้องของโครงการกับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (x̄ = 4.30, S.D. = 0.10)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.17, S.D. = 0.11) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ หน่วยงานภายนอกให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (x̄ = 4.45, S.D. = 0.51) รองลงมา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (x̄ = 4.40, S.D. = 0.50)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.10, S.D. = 0.17) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานชัดเจน อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.35, S.D. = 0.59) รองลงมา การขับเคลื่อนกิจกรรมด้วยกระบวนการ PDCA อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.25, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาด้านการบริหารโครงการ (P-D-C-A) พบว่า โดยภาพรวมด้านการวางแผน (Plan) อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.23, S.D. = 0.51) รองลงมา ได้แก่ ด้านการปฏิบัติ (Do) อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.22, S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณากิจกรรม 13 กิจกรรม พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมากในทุกกิจกรรม โดยกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงงานเครื่องปั้นดินเผา อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54, S.D. = 0.63) รองลงมา โครงงานธนาคารขยะอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.28, S.D. = 0.56)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ของโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.88, S.D. = 0.10) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ (นักเรียนเข้าใจศาสตร์พระราชา และนำไปสู่การปฏิบัติ) (x̄ = 4.05, S.D. = 0.49) รองลงมา ได้แก่ นักเรียนมีจิตสำนึกและอุปนิสัยความพอเพียง (x̄ = 3.99, S.D. = 0.60)
5. ผลการสัมภาษณ์ สรุปผลได้ดังนี้
5.1 ผลการสัมภาษณ์เกี่ยวกับความสอดคล้องของโครงการพบว่า 1) วัตถุประสงค์ของโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบาย จุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระทรวงศึกษาธิการ 2) สภาพบริบทของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ มีความเหมาะสมเอื้อต่อการจัดโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา
5.2 ผลการสัมภาษณ์เกี่ยวกับความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการการดำเนินกิจกรรม (PDCA) ตามโครงการ และผลสำเร็จด้านผลผลิต ในการดำเนินการโครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ พบว่า ความเหมาะสม เพียงพอของปัจจัยกระบวนการดำเนินกิจกรรม และผลผลิตที่เกิดขึ้น อยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม สรุปว่า โครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ บรรลุวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
6. สรุปผลการประเมินผลสำเร็จ โครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ
สรุปผลสำเร็จของโครงการ มีกิจกรรมที่มีผลการประเมินตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป จำนวน 13 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100 สรุปได้ว่า โครงการรักษา สืบสาน และต่อยอดศาสตร์พระราชา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ มีความสำเร็จระดับมากที่สุด