ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน นางสาววิจิตรา พิชญสมบัติ
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองตาด อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนหนองตาด โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) แบ่งเป็น 4 ด้านคือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) ด้านผลผลิต (Product) และเพื่อพัฒนาโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนหนองตาด
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนหนองตาด ในปีการศึกษา 2564 ซึ่งประกอบด้วย ครูผู้สอน 5 คน นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 49 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 49 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 112 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนหนองตาด ปีการศึกษา 2564 มีจำนวน 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนหนองตาด ปีการศึกษา 2564 โดยใช้แบบประเมิน CIPP MODEL มี 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมออมทรัพย์ และกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ โดยสร้างแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนหนองตาด ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือมีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (IOC) ระหว่าง 0.80 1.00 และมีความเชื่อมั่นระหว่าง 0.928 0.929
ผลการประเมินพบว่า การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประจำปีการศึกษา 2564 อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน และผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ( = 4.53, S.D. = 0.56) รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ( = 4.52, S.D. = 0.62) และด้านปัจจัยเบื้องต้น ( = 4.50, S.D. = 0.59) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านบริบท ( = 4.49, S.D. = 0.61)
ผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประจำปีการศึกษา 2564 พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประจำปีการศึกษา 2564 จากการสอบถามนักเรียน โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 3 ข้อ โดยข้อที่มีคำเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ ( = 4.53, S.D. = 0.57) รองลงมาคือ กิจกรรมวันสำคัญ ( = 4.47, S.D. = 0.56) กับกิจกรรมออมทรัพย์ ( = 4.47, S.D. = 0.64) และกิจกรรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กิจกรรม ( = 4.37, S.D. = 0.59)
ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประจำปีการศึกษา 2564 พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ประจำปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่านักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 3 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 3 นักเรียนมีส่วนร่วมและมีความสุขกับกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ( = 4.76, S.D. = 0.48) รองลงมาคือ ข้อ 1 กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในโครงการมีความหลากหลายกับความต้องการของนักเรียน ( = 4.58, S.D. = 0.51) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 6 โรงเรียนมีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องที่ใช้ในการดำเนินโครงการเหมาะสมและเพียงพอ ( = 4.36, S.D. = 0.50)
ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด ระหว่างปีการศึกษา 2563 กับ ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.14 เมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้มีร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นทั้ง 8 กลุ่มสาระ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีร้อยละเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.54 รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.31 และกลุ่มสาระที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02
ผลการเปรียบเทียบร้อยละคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตาด พบว่า ระหว่างปีการศึกษา 2563 กับ ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.09